ความวิตกกังวลและการเผชิญปัญหาในพยาบาลจบใหม่ สิริรัตน์ ฉัตรชัยสุชา
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความวิตกและพฤติกรรมเผชิญความเครียดในพยาบาลจบใหม่ ที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต จากคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา 2541 จำนวน 224 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดความวิตกกังวลขณะเผชิญของ สปิลเบอร์เกอร์ (The State Anxiety Inventory ,1970) และแบบสอบถามพฤติกรรมเผชิญความเครียดของมิเชลล์ และโซเรนสัน (Mishel & Sorenson,1993) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
พยาบาลจบใหม่ ร้อยละ 56.7 ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลศิริราช ร้อยละ 26.8 ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลเอกชน และร้อยละ 11.6 ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลจบใหม่มีค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลเท่ากับ 2.88 พยาบาลจบใหม่ที่ปฏิบัติงานในสถานที่ต่างกันมีระดับความวิตกกังวลไม่แตกต่างกัน ที่ระดับ .05 พยาบาลจบใหม่มีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมเผชิญความเครียดด้านการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น สูงกว่าคะแนนพฤติกรรมเผชิญความเครียดด้านการปรับทางจิตอารมณ์ คะแนนความวิตกกังกลขณะเผชิญของพยาบาลจบใหม่มีความสัมพันธ์กับคะแนนพฤติกรรมเผชิญความเครียด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r= .31, p<.01) ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานการทำวิจัยเพื่อเตรียมพยาบาลจบใหม่ในการปฏิบัติงานในสถานพยาบาลต่างๆ ต่อไป
คำสำคัญ : ความวิตกกังวล,การเผชิญปัญหา,ความเครียด,พยาบาล