ผลการสอนอย่างมีแบบแผนร่วมกับการใช้กลุ่มประคับประคองต่อการเพิ่มความร่วมมือของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์

Authors

  • พรทิพย์ ลีลาอนันตกุล
  • ประณีต ส่งวัฒนา
  • ลดาวัลย์ ประทีปชัยกูร

Abstract

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการสอนอย่างมีแบบแผนร่วมกับการใช้กลุ่มประคับประคองต่อการเพิ่มความร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านไวรัสเอดส์ที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลกระบี่ โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช และโรงพยาบาลพยาบาลหาดใหญ่จำนวน 50 ราย คัดเลือกผู้ป่วยแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติ โดยไม่มีความแตกต่างกันของระยะความรุนแรงของความเจ็บป่วยและสูตรยา ทั้งนี้จัดให้ผู้ป่วย 25 รายแรกเป็นกลุ่มที่ได้รับการสอนตามปกติ และ 25 รายหลัง เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการสอนอย่างมีแบบแผนร่วมกับการใช้กลุ่มประคับประคองจากผู้วิจัย เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือน กันยายน 2546 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทีอิสระผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ป่วยที่ได้รับการสอนอย่างมีแบบแผนร่วมกับการใช้กลุ่มประคับประคอง มีพฤติกรรมความร่วมมือดีกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการสอนตามปกติ ทั้งในสัปดาห์ที่ 2 และสัปดาห์ที่ 4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0. 05 2)พฤติกรรมความร่วมมือภายในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการสอนอย่างมีแบบแผนร่วมกับการใช้กลุ่มประคับประคองมีพฤติกรรมความร่วมมือในสัปดาห์ที่ 4 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ 2  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนในกลุ่มควบคุมที่ได้รับการสอนตามปกติ พบว่าไม่มีความแตกต่างกันในพฤติกรรมความร่วมมือในสัปดาห์ที่ 2 และ สัปดาห์ที่ 4 และ 3 )ผลลัพธ์ของพฤติกรรมความร่วมมือ โดยติดตามดูระดับซีดี 4 (CD 4) ในเดือนที่ 3 หลังได้รับยาต้านไวรัสเอดส์ของทั้งสองกลุ่ม  พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

คำสำคัญ : การสอนอย่างมีแบบแผน,กลุ่มประคับประคอง,ความร่วมมือของผู้ป่วย,การรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2012-08-21

How to Cite

1.
ลีลาอนันตกุล พ, ส่งวัฒนา ป, ประทีปชัยกูร ล. ผลการสอนอย่างมีแบบแผนร่วมกับการใช้กลุ่มประคับประคองต่อการเพิ่มความร่วมมือของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2012 Aug. 21 [cited 2024 Nov. 22];19(2):1. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2235