ประสบการณ์การดูแลและการบริหารจัดการของพยาบาลขณะเกิดภาวะวิกฤตน้ำท่วมโรงพยาบาลหาดใหญ่
Abstract
การวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายและอธิบายประสบการณ์การดูแลและการบริหารจัดการของพยาบาลขณะเกิดภาวะวิกฤตน้ำท่วมโรงพยาบาลหาดใหญ่ ผู้ให้ข้อมูลเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานดูแลและบริหารจัดการขณะเกิดภาวะวิกฤต น้ำท่วมโรงพยาบาลหาดใหญ่ระหว่างวันที่ 22-25 พฤศจิกายน พ.ศ.2543 และมีประสบการณ์การปฏิบัติงานในตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพมากกว่า 3 ปี จำนวน 12 ราย ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การบันทึกเทปและการบันทึกภาคสนาม ระหว่างเดือนเมษายน พ.ศ.2544 ถึง เดือนมกราคม พ.ศ.2545 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลตามขั้นตอนของโคไลซ์ซี่ (Colaizzi)
ผลการศึกษาพบว่าผู้ให้ข้อมูลรับรู้และให้ความหมายต่อภาวะวิกฤตน้ำท่วมที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ 4 ลักษณะ คือ 1) เป็นความรุนแรงและสูญเสียเกินคาดคิด 2) เป็นความขาดแคลนและหาทางเอาตัวรอด 3) เป็นภาวะบีบคั้นกายใจ และ 4) เป็นความร่วมมือร่วมใจภายในครอบครัว
การดูแลขณะเกิดภาวะวิกฤตน้ำท่วม โรงพยาบาลหาญใหญ่มี 3 ลักษณะ คือ ดูแลท่ามกลาง ความมืด และขาดแคลน 2) ช่วยเหลือผู้ป่วยวิกฤตยามฉุกเฉิน และ 3) ใช้มิติจิตวิญญาณของการเป็นผู้ดูแลสูง
การบริหารจัดการขณะเกิดภาวะวิกฤตน้ำท่วมโรงพยาบาลหาดใหญ่ มี 6 ลักษณะ คือ 1) รวมกลุ่มและแบ่งงานกันเองตามถนัด 2) เตรียมการจากคาดคะเนเหตุการณ์ 3) ประสานงานโดยการเดินและวิ่ง 4) ยืดหยุ่นกฎระเบียบ 5) ใช้วิจารณญาณ และ 6) ดัดแปลงทรัพยากรเพื่อให้ใช้ประโยชน์ขณะนั้น
ผู้ให้ข้อมูลได้ให้ข้อเสนอแนะแนวทางการดูแลและการบริหารจัดการขณะเกิดภาวะวิกฤตน้ำท่วมโรงพยาบาลหาดใหญ่ ใน 3 ระดับ คือ 1) ระดับหน่วยงานควรให้มีการปรับระบบการดูแลจัดแพทย์ประจำในหน่วยงานผู้ป่วยหนัก จัดหาอุปกรณ์จำเป็นที่ใช้ในการดูแล และฝึกทักษะภาวะผู้นำแก่พยาบาล 2)ระดับกลุ่มงานการพยาบาลควรตั้งกองบัญชาการเพื่อประสานงานสื่อสาร และดูแลความเป็นอยู่ผู้ปฏิบัติงาน,กำหนดจุดรับบริจาคจุดรองรับน้ำฝน และจุดศูนย์รวมกุญแจ ตึงอัตรากำลังอย่างเหมาะสม และระดมสร้างขวัญกำลังใจ 3) ระดับโรงพยาบาลควรสร้างแผนจากผู้มีประสบ-การณ์ ประสานจังหวัดเพื่อช่วยเหลือจัดระบบกุญแจยามฉุกเฉิน เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นในภาวะวิกฤต และกระจายข่าวน้ำท่วมอย่างทั่วถึง
คำสำคัญ : ประสบการณ์การดูแล,การบริหารจัดการของพยาบาล ภาวะวิกฤตน้ำท่วม,โรงพยาบาลหาดใหญ่