การจัดการโรคหืดในเด็ก : กลวิธีและการป้องกัน

Authors

  • อาภาวรรณ หนูคง

Abstract

โรคหืดเป็นความผิดปกติที่มีการอักเสบเรื้อรังของทางเดินหายใจที่ทำให้ทางเดินหายใจตีบแคบและเกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจ อุบัติการณ์ของโรคหืดในเด็กมีแนวโน้มสูงขึ้นทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย และเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศเนื่องจากต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสูงและมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของเด็กและครอบครัวสาเหตุของโรคหืด เนื่องมาจากปัจจัยด้านพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม นั้นประกอบด้วยหลายปัจจัย สิ่งแวดล้อมบางชนิดมีข้อมูลสนับสนุนว่าเป็นสาเหตุให้เกิดโรคหืด สิ่งแวดล้อมบางชนิดเป็นปัจจัยกระตุ้นให้อาการของโรคหืดรุนแรงขึ้นหรือกระตุ้น การจับหืด ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ สารก่อภูมิแพ้ ควันบุหรี่ และสารระคายเคือง การติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ยา สภาพอากาศ และ ความเครียด การดูแลเด็กโรคหืดมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญเพื่อให้เด็กสามารถควบคุมอาการของโรคหืดได้และมีกิจกรรมได้ตามปกติ การดูแลโรคหืดประกอบด้วยการประเมินระดับความรุนแรงของโรค การวางแผนเพื่อควบคุมอาการของโรคและการวางแผนการดูแลเมื่อเด็กมีอาการจับหืด การหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการของโรคและการประเมินอาการของโรคอย่างมีสม่ำเสมอ โดยอาศัยความร่วมมือระหว่างบุคคลการทางการแพทย์และครอบครัว

คำสำคัญ : โรคหืด สิ่งแวดล้อม การดูแลเด็กโรคหืด

Downloads

Published

2012-08-22

How to Cite

1.
หนูคง อ. การจัดการโรคหืดในเด็ก : กลวิธีและการป้องกัน. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2012 Aug. 22 [cited 2024 Apr. 20];22(2):32. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2250