ผลของปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคล ลักษณะความเจ็บป่วย แหล่งประโยชน์ส่วนบุคคลต่อความรุนแรงของอาการหายใจลำบากในผู้ป่วยโรคปลอดอุดกั้นเรื้อรัง

Authors

  • จอม สุวรรณโณ
  • จุก สุวรรณโณ

Abstract

การวิจัยนี้ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อระดับความรุนแรงของอาการหายใจลำบากในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ได้แก่ ปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคล (เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้) ลักษณะความเจ็บป่วย (ระยะเวลาเจ็บป่วย สมรรถภาพปอด) และแหล่งประโยชน์ส่วนบุคคล (การอยู่อาศัย ผู้ดูแลที่บ้าน) ในการทำนายระดับความรุนแรงของอาการหายใจลำบาก ใช้ระเบียบวิธีวิจัยบรรยาย เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 197 ราย เป็นผู้ป่วยโรคอุดกั้นเรื้อรังที่มารักษาในแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลศูนย์ 2 แห่ง ในภาคใต้ผู้เข้าร่วมวิจัยมีอายุ 18 ปี หรือมากกว่า และไม่มีโรคร่วมต่อไปนี้คือ โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ประเมินสมรรถภาพปอดจากค่าอัตราการไหลสูงสุดของอากาศขณะหายใจออกโดยใช้เครื่องมือ พีค โพลว์ และประเมินระดับความรุนแรงของอาการหายใจลำบากโดยใช้มาตรวัดประมาณค่าอาการหายใจลำบาก (visual analog scale-dyspnea : VAS-D) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและสถิติถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า อายุเป็นปัจจัยที่สามารถทำนายอาการหายใจลำบากได้ดีที่สุด (5%, F=10.37,df 1, 195, p < .01) รองลงมาคือระดับการศึกษา (4.1%,F=3.917,df 1, 195, p <.05) ทั้งหมดร่วมทำนายอาการหายใจลำบากได้ร้อยละ 11.9 (F= 3.174, df 8, 188, p <.01) หลักฐานการวิจัยนี้แสดงว่าลักษณะส่วนบุคคลเป็นปัจจัยที่มีผลต่ออาการหายใจลำบากมากกว่าลักษณะความเจ็บป่วย การพัฒนาการบำบัดการพยาบาลเพื่อป้องกันและลดความรุนแรงของอาการหายใจลำบากจะต้องคำนึงถึงความแตกต่างด้านลักษณะส่วนบุคคลโดยเฉพาะในผู้ที่มีอายุมากซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดอาการหายใจลำบากรุนแรง

คำสำคัญ : โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง อาการหายใจลำบาก ลักษณะส่วนบุคคล ลักษณะความเจ็บป่วย แหล่งประโยชน์ส่วนบุคคล

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2012-08-22

How to Cite

1.
สุวรรณโณ จ, สุวรรณโณ จ. ผลของปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคล ลักษณะความเจ็บป่วย แหล่งประโยชน์ส่วนบุคคลต่อความรุนแรงของอาการหายใจลำบากในผู้ป่วยโรคปลอดอุดกั้นเรื้อรัง. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2012 Aug. 22 [cited 2024 Dec. 23];22(2):99. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2255