ศักยภาพโรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลเฉพาะทางในการเป็นแหล่งฝึกอบรมความรู้ความรู้ ความชำนาญเฉพาะทาง ในแต่ละสาขาการพยาบาล
Abstract
การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ประสงค์เพื่อการศึกษาความพร้อมในการเป็นแหล่งฝึกอบรมความรู้ความชำนาญเฉพาะทางในแต่ละสาขาพยาบาลของโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลเฉพาะทาง ด้านการบริหาร การบริการวิชาการ และด้านทรัพยากร ซึ่งจัดอยู่ในองค์ประกอบปัจจัยนำเข้าของแนวคิดการจัดระบบการศึกษา และศึกษาความคิดเห็นต่อสมรรถนะและจำนวนพยาบาลผู้มีความรู้ความชำนาญเฉพาะทางแต่ละสาขาที่ต้องการประชากรเป้าหมายที่ยินดีเข้าร่วมวิจัยประกอบด้วยโรงพยาบาลศูนย์จำนวน 20 แห่ง โรงพยาบาลเฉพาะทางจำนวน 6 แห่ง และบุคลากรของโรงพยาบาล ได้แก่ ผู้บริหารโรงพยาบาลผู้บริหารกลุ่มงานการพยาบาล แพทย์เฉพาะทางที่ได้รับวุฒิบัตรหรืออนุมัติบัตรเป็นเวลา 5 ปีขึ้นไปในสาขาที่เกี่ยวข้อง และพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโททางการพยาบาล ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง ร่วมกับการแจกแบบสอบถามหรือสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงพยาบาลและผู้บริหารกลุ่มงานการพยาบาล แจกแบบสอบถามแก่แพทย์เฉพาะทางและพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโททางการพยาบาล ในระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2540 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2541 ผลการวิจัย พบว่าโรงพยาบาลที่มีความพร้อมในการเป็นแหล่งฝึกอบรมฯ ในฐานะสถาบันสมทบ คือ โรงพยาบาลศูนย์ 2 แห่ง ในสาขาการพยาบาลอายุรศาสตร์ศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลที่มีแนวโน้มเป็นแหล่งฝึกอบรม ฯ ได้สูง คือ โรงพยาบาลศูนย์ 5 แห่ง ในสาขาการพยาบาลอายุรศาสตร์-ศัลยศาสตร์ และโรงพยาบาลเฉพาะทาง 2 แห่ง ในสาขาพยาบาลเด็ก และการพยาบาลสุขภาพจิต และจิตเวช โรงพยาบาลที่สามารถพัฒนาเป็นแห่งฝึกอบรมฯ ได้ คือ โรงพยาบาลศูนย์ 8 แห่ง และโรงเฉพาะทาง 1 แห่ง ส่วนมากในสาขาการพยาบาลอายุรศาสตร์-ศัลยศาสตร์ และโรงพยาบาลที่ยากจะเป็นแหล่งฝึกอบรมฯ ได้ คือ โรงพยาบาลเฉพาะทาง 3 แห่ง ผู้ตอบแบบสอบถามเห็นด้วยกับสมรรถนะฯ ในระดับสูงทุกข้อ
คำสำคัญ : การพยาบาลเฉพาะทาง,การฝึกอบรม,โรงพยาบาลเฉพาะทาง,โรงพยาบาลศูนย์