ความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด

Authors

  • นันทา เล็กสวัสดิ์
  • นฤมล ลาวัลย์ตระกูล
  • ทรงศรี ชุ่มประดิษฐ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความทุกข์ทรมาน ได้แก่ อายุ จำนวน ชุดของการให้ยาเคมีบำบัด สัมพันธภาพในครอบครัวกับความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด จำนวน 70 ราย ที่ห้องตรวจพิเศษศัลยกรรม 1 การพยาบาลผู้ป่วยนอกและฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ระหว่างเดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2540 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ ซึ่งประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการได้รับเคมีบำบัด แบบสัมภาษณ์ความทุกข์ทรมาน และแบบสัมภาษณ์สัมพันธภาพในครอบครัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาค่าความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่าความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด อยู่ในระดับน้อย ความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยจากอาการข้างเคียงของยาเคมีบำบัด คือ อาการคลื่นไส้ และอาเจียน ความรุนแรงของอาการคลื่นไส้และหรืออาเจียน อาการผมร่วง อาการเบื่ออาหารและมีความอยากอาหารลดลง ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง จำนวนชุดของการให้ยาเคมีบำบัด มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p>.05)

คำสำคัญ : การรักษาด้วยยา,เคมีบำบัด,ผู้ป่วย,มะเร็งเต้านม

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2012-08-23

How to Cite

1.
เล็กสวัสดิ์ น, ลาวัลย์ตระกูล น, ชุ่มประดิษฐ์ ท. ความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2012 Aug. 23 [cited 2024 Dec. 23];14(3):37. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2276