การพัฒนาบริการสาธารณสุขเชิงรุกโดยพยาบาลครอบครัว สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร

Authors

  • นาฎกา ณ บางช้าง
  • ปิยรัตน์ พลพงศ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการให้บริการสาธารณสุขเชิงรุกที่ให้บริการสุขภาพแก่ประชาชนในชุนชนโดยพยาบาลครอบครัวตามขอบเขตของวิชาชีพให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการ ความคาดหวังของประชาชนและแนวคิดในแผนพัฒนาต่างๆ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพหลัก โดยส่งเสริมสนับสนุนการพึ่งตนเองและพัฒนาศักยภาพองค์กรชุมชนให้มีส่วนร่วมในการดูแลรับผิดชอบสุขภาพอนามัยประชาชน ในลักษณะการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ใช้เวลาดำเนินการ 1 ปี 9 เดือน คือตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2540 ถึง 30 มิถุนายน 2542 แบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะทดลอง ดำเนินการใน12 ชุมชน และ 60 ชุมชนในระยะขยายผล ขั้นตอนการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 1) การชี้แจงวัตถุประสงค์ของการวิจัย 2)คัดเลือกชุมชนในระยะทดลอง 3)ประเมินปัญหาความต้องการและความคาดหวังของชุมชน 4) ประเมินความพร้อมของพยาบาลในการให้บริการสุขภาพตามสภาพปัญหาที่พบของชุมชนทดลอง 5)เตรียมความพร้อมของพยาบาลครอบครัวโดยการฝึกอบรม 6)พยาบาลครอบครัวให้บริการสุขภาพ(ที่ผสมผสานบริการทั้ง 4 มิติ ได้แก่ การตรวจรักษาโรคเบื้องต้น การพยาบาลทั่วไป การฟื้นฟูสภาพการส่งเสริมสุขภาพและการควบคุมป้องกันโรค การคัดกรองผู้ป่วยแบบองค์รวมและมีความต่อเนื่องของบริการและมีระบบส่งต่อเมื่อเกินขีดความสามารถ)ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขในชุมชนทดลองโดยใช้ศูนย์สุขภาพชุมชนเป็นศูนย์กลางการให้บริการ 7)ประเมินผลการให้บริการ 8)ดำเนินการขยายผลให้ครอบคลุมพื้น 9)ประเมินผลการให้บริการและสรุปผลการวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบด้วย พยาบาลครอบครัวอาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนผู้รับบริการจากการสังเกตและจากเอกสารรายงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Content Analysis

รูปแบบการให้บริการสาธารณสุขเชิงรุกโดยพยาบาลครอบครัวจากการวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ประกอบด้วย 1)การเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินปัญหา ความต้องการและความคาดหวังของชุมชน 2)ประเมินความพร้อมของพยาบาลในการให้บริการสุขภาพตามสภาพปัญหาของความต้องการของชุมชน 3) เตรียมความพร้อมของพยาบาลโดยการฝึกอบรม 4) พยาบาลครอบครัวให้บริการสุขภาพร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข โดยใช้ศูนย์สุขภาพชุมชนเป็นศูนย์กลางการให้บริการ

ผลการพัฒนาการให้บริการสาธารณสุขครั้งนี้ได้รูปแบบการบริการสาธารณสุขที่เน้นการดูแลไปสู่ครอบครัว โดยสนับสนุนการพึ่งตนเอง ให้สมาชิกในครอบครัวมีความรู้ด้านสุขภาพที่สามารถดูแลตนเองและดูแลสมาชิกในครอบครัวได้เองที่บ้าน รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพองค์กรชุมชนให้มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพอนามัยของประชาชนส่งผลให้ประชาชนมีความเสมอภาคในการเข้าถึงบริการ ได้รับบริการที่ครอบคลุมและมีความต่อเนื่องของบริการ ซึ่งก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพไปในทางที่ถูกต้องในที่สุด

คำสำคัญ : การพยาบาลในเคหสถาน,พยาบาลครอบครัว,สาธารณสุข,อนามัยชุมชน-การบริการ

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2012-08-23

How to Cite

1.
ณ บางช้าง น, พลพงศ์ ป. การพัฒนาบริการสาธารณสุขเชิงรุกโดยพยาบาลครอบครัว สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2012 Aug. 23 [cited 2024 Nov. 22];14(3):72. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2279