ความเครียดของสตรีมีบุตรยาก
Abstract
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียดของสตรีมีบุตรยาก และเปรียบเทียบความแตกต่างของความเครียดของสตรีมีบุตรยากที่มีอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ลักษณะครอบครัว ระยะเวลาที่ตั้งใจจะมีบุตร ระยะเวลาที่ได้รับการตรวจรักษา และประเภทผู้ป่วยที่ต่างกัน กลุ่มตัวอย่างคือ สตรีมีบุตรยากที่มารับการตรวจรักษาในหน่วยตรวจรักษา คู่สมรสมีบุตรยากโรงพยาบาลรามาธิบดี ระหว่างเดือนเมษายน 2541 ถึง เดือนเมษายน 2541 จำนวน 278 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้เครื่องมือที่ใช้แบบสอบถามได้นำทดสอบความตรงรับบริการ มีความเครียดอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 67.6 ในระดับสูงร้อยละ 20.5 และในระดับต่ำร้อยละ 11.9 สตรีมีบุตรยากที่ตั้งใจจะมีบุตรนานมากกว่า 2 ปี มีความเครียดสูงกว่าสตรีมีบุตรยากที่ตั้งใจจะมีบุตรนาน 1-2 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.05) สตรีมีบุตรยากที่มีระยะเวลาในการตรวจรักษาเท่ากับหรือมากกว่า 1 ปี มีความเครียดสูงกว่าสตรีมีบุตรยากที่มีระยะเวลาในการตรวจรักษาน้อยกว่า 1 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.001) สตรีมีบุตรยากที่เป็น ผู้ป่วยเก่ามีความเครียดสูงกว่าผู้ป่วยใหม่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) สตรีมีบุตรยากที่มีระดับการศึกษา อาชีพ และลักษณะครอบครัวแตกต่างกันมีคะแนนความเครียดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) แต่สตรีมีบุตรยากที่มีอายุและรายได้ต่างกันมีความเครียดไม่แตกต่างกัน
ผลการวิจัยครั้งนี้ จะเป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการปฏิบัติการพยาบาลที่มีประสิทธิภาพสำหรับสตรีมีบุตรยากที่มารับการตรวจรักษาในโรงพยาบาลต่อไป
คำสำคัญ : ความเครียด,สตรี,ภาวะมีบุตรยาก