คุณภาพชีวิตของสตรีวัยหมดประจำเดือนในประเทศไทย
Abstract
เมื่อสตรีมีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู้วัยหมดประจำเดือน ทำให้มีปัญหาสุขภาพจากการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิต ผู้วิจัยต้องการศึกษาระดับความรุนแรงของอาการหมดประจำเดือนและคุณภาพชีวิตของสตรีวัยหมดประจำเดือน โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีวัยหมดประจำเดือน อายุ 40-59 ปี ที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองในจังหวัดภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคละ 2 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร สุ่มตัวอย่างแบบหลายชนิดร่วมกันได้ตัวอย่างภาคละ 400 คน รวม 2,400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลด้านประชากร แบบประเมินความรุ่นแรงของอาการหมดประจำเดือนและแบบวัดคุณภาพชีวิต เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ นำข้อมูลมาแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ คำนวณหาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่าสตรีวัยหมดประจำเดือนร้อยละ 70 มีความรุนแรงของอาการหมดประจำเดือนอยู่ในระดับเล็กน้อย ร้อยละ 28.54 มีอาการระดับปานกลาง คุณภาพชีวิตของสตรีวัยหมดประจำเดือนจำแนกตามภูมิภาคของประเทศ และโดยรวมอยู่ในระดับค่อนข้างดี เมื่อจำแนกเป็นรายด้านทั้ง 4 ด้านได้แก่ ด้านความพึงพอใจในชีวิตด้านอัตมโนทัศน์ ด้านสุขภาพและการทำงานของร่างกาย และด้านสังคมและเศรษฐกิจพบว่ามีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับค่อนข้างดีทุกรายด้าน
ผลการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะให้พยาบาลและบุคลกรในทีมสุขภาพได้ตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของสตรีวัยหมดประจำเดือน โดยการให้ความรู้เกี่ยวกับอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในวัยหมดประจำเดือน ตลอดจนการปฏิบัติที่ถูกต้อง เพื่อส่งเสริมให้สตรีกลุ่มนี้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป
คำสำคัญ : คุณภาพชีวิต,สตรี,วัยหมดระดู