ความรู้ เจตคติและการปฏิบัติในการใช้ยาแก้ปวดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร
Abstract
การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบความรู้ เจตคติและการปฏิบัติในการใช้ยาแก้ปวดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครตามตัวแปรด้านต่าง คือ เพศ อายุของผู้ปกครอง ระดับการศึกษาของผู้ปกครอง อาชีพของผู้ปกครอง รายได้ครอบครัว ลักษณะครอบครัว ลักษณะการเดินทางไปรับบริการที่สถานบริการสาธารณสุข การมีบุคคลในครอบครัวมีประสบการณ์ทางการแพทย์หรือสาธารณสุข รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับเจตคติ ความรู้กับการปฏิบัติ และเจตคติกับการปฏิบัติในการใช้ยาแก้ปวดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนจำนวน 382 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบทดสอบ และแบบสอบถามที่วิจัยสร้างขึ้นประกอบด้วย 5 ตอน คือ ข้อมูลทั่วไปของนักเรียน แบบทดสอบความรู้ค่าความเชื่อมั่น .7854 แบบสอบถามเจตคติมีค่าความเชื่อมัน .8200 แบบสอบถามการปฏิบัติมีค่าความเชื่อ .8824 และแบบสอบถามปลายเปิดแล้วนำมาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบน มาตรฐาน ค่าสถิติที ค่าสถิติเอฟโดยวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ทดสอบรายคู่โดยวิธีของนิวแมนคูลส์และหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการศึกษาพบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครมีความรู้ในการใช้ยาแก้ปวดในระดับต่ำ มีเจตคติและการปฏิบัติในการใช้ยาแก้ปวดในระดับต่ำ มีเจตคติและการปฏิบัติในการใช้ยาแก้ปวดในระดับต่ำ มีเจตคติและการปฏิบัติในการใช้ยาแก้ปวดในระดับดี เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติในการใช้ยาแก้ปวดกับตัวแปรต่างๆ พบนักเรียนชายกับนักเรียนหญิงมีเจตคติและการปฏิบัติในการใช้ยาแก้ปวดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนนักเรียนที่ผู้ปกครองมีอาชีพต่างกัน มีรายได้ครอบครัวต่างกันจะมีการปฏิบัติในการใช้ยาแก้ปวด และมีความรู้ในการใช้ยาแก้ปวดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (ตามลำดับ) ส่วนตัวแปรด้านอื่นๆ ไม่พบความแตกต่างกัน ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับ เจตคติความรู้กับการปฏิบัติ เจตคติกับการปฏิบัติในการใช้ยาแก้ปวดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r=0.348,0.248,0.541 ตามลำดับ)
คำสำคัญ : การใช้ยา,นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3,ยาแก้ปวด