ระดับความเจ็บปวดของผู้ป่วยขณะที่ได้รับการใส่และคาสายสวนปัสสาวะ

Authors

  • นันทา เล็กสวัสดิ์
  • นฤมล จันทร์ฉาย
  • นิตยา ว่องกลกิจศิลป์

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเจ็บปวดของผู้ป่วยขณะได้รับการใส่และคาสายสวนปัสสาวะ และเปรียบเทียบความเจ็บปวดของผู้ป่วยทีได้รับการใส่และคาสายสวนปัสสาวะ ซึ่งมีเพศ อายุ ประสบการณ์ที่เคยใส่สายสวนปัสสาวะขนาดของสายสวนปัสสาวะที่ใช้ และประสบการณ์ที่เคยใส่สายสวนปัสสาวะขนาดของสายสวนปัสสาวะที่ใช้ และประสบการณ์ใส่สายสวนปัสสาวะของบุคลากรที่แตกต่างกัน ร่วมทั้งศึกษาพฤติกรรมตอบสนองความเจ็บปวดของผู้ป่วยขณะที่ได้รับการใส่และคาสายสวนปัสสาวะ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยเพศชายและเพศหญิง จำนวน 120 ราย ซึ่งเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดชนิดรอได้ในหอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย-หญิง โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2538 ถึงเดือนธันวาคม 2538 ทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างเกณฑ์ที่กำหนดเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบบันทึกระดับความเจ็บปวดและมาตรวัดความรู้สึกปวดด้วยการเปรียบเทียบด้วยสายตา แบบสังเกตพฤติกรรมความเจ็บปวดแบบบันทึกค่าสัญญาณชีพ เครื่องวัดชีพจร ความดันโลหิต แบบสัมผัสด้วยมือและนาฬิกาที่มีเข็มวินาทีผู้วิจัยนำเครื่องไปหาความเที่ยงตรงด้านเนื้อหาโดยให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบ และนำแบบสังเกตพฤติกรรมความเจ็บปวดไปหาความเชื่อมั่นของการสังเกต ได้ค่าความเชื่อมันของการสังเกตเท่ากับ 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความเจ็บปวดของผู้ป่วยขณะได้รับการใส่และค่าสายสวนปัสสาวะอยู่ในระดับปานกลาง ผู้ป่วยที่มีช่วงอายุต่างกัน มีค่าเฉลี่ยคะแนนความเจ็บปวดที่ได้รับการใส่และคาสายสวนปัสสาวะไม่แตกต่างกันผู้ป่วยเพศชายและเพศหญิง มีค่าเฉลี่ยคะแนนความเจ็บปวดขณะที่ได้รับการใส่และคาสายสวนปัสสาวะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผู้ป่วยที่มีประสบการณ์เคยใส่และไม่เคยใส่สายสวนปัสสาวะ มีค่าเฉลี่ยคะแนนความเจ็บปวดขณะที่ได้รับการใส่และคาสายสวนปัสสาวะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผู้ป่วยที่ใส่สายสวนปัสสาวะขนาดเบอร์ 14 และขนาดเบอร์ 16 มีค่าเฉลี่ยคะแนนความเจ็บปวดขณะที่ได้รับการใส่และคาสายสวนปัสสาวะไม่แตกต่างกัน ผู้ป่วยทีได้รับการใส่และคาสายส่วนปัสสาวะจากบุคลากรที่มีประสบการณ์การใส่สายสวนปัสสาวะต่างกัน มีค่าเฉลี่ยคะแนนความเจ็บปวดที่ได้รับการใส่และคาสายสวนปัสสาวะไม่แตกต่างกัน ผู้ป่วยขณะที่ได้รับการใส่และคาสายสวนปัสสาวะมีค่าเฉลี่ยชีพจร การหายใจ และความดันโลหิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และผู้ป่วยส่วนมากขณะที่ได้รับการใส่และคาสายสวนปัสสาวะมีพฤติกรรมตอบสนองความเจ็บปวดด้วยการแสดงออกทางสีหน้า และการเคลื่อนไหวร่างกาย

คำสำคัญ : การใส่และคาสายสวนปัสสาวะ,ความเจ็บปวด ,การสวนปัสสาวะ

Downloads

Published

2012-08-25

How to Cite

1.
เล็กสวัสดิ์ น, จันทร์ฉาย น, ว่องกลกิจศิลป์ น. ระดับความเจ็บปวดของผู้ป่วยขณะที่ได้รับการใส่และคาสายสวนปัสสาวะ. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2012 Aug. 25 [cited 2024 Apr. 27];15(4):25. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2314