ต้นทุนการผลิตพยาบาลของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Authors

  • เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย
  • สุธรรม อำพะมะ
  • วราภรณ์ นุ่นแก้ว

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบย้อนหลัง (Retrospective Study) เพื่อศึกษาต้นทุนต่อหัวของนักศึกษาพยาบาลใน 3 ด้าน คือ ต้นทุนต่อหัวจำแนกตามภาควิชา ต้นทุนต่อหัวในส่วนค่าใช้จ่ายของนักศึกษาเอง และต้นทุนต่อหัวโดยรวมทั้งหมดโดยเก็บข้อมูลย้อนหลังในปีงบประมาณ 2537-2540 (1 ตุลาคม 2537-30 กันยายน 2540) รวมระยะเวลาศึกษาทั้งสิ้น 4 ปีงบประมาณ ด้วยวิธีการคิดทุนค่าดำเนินการและค่าลงทุน วิธีค่าใช้จ่ายคงที่ และค่าใช้จ่ายแบบแปรผันโดยเก็บข้อมูล 2 แหล่ง คือ แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ เก็บจากข้อมูลที่บันทึกไว้จากคู่มืองบประมาณในส่วนต่างๆ บัญชีสวัสดิการ บัญชีถือจ่ายงบประมาณประจำปี ประวัติอาจารย์และประวัติข้าราชการ (เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเงินประจำตำแหน่ง) ส่วนแหล่งข้อมูลปฐมภูมิใช้การสำรวจโดยถามข้อมูลย้อนหลังจากนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี ร้อยละ 25 จำนวน 100 คน และหลักสูตรปริญญาโท ร้อยละ 25 ได้จำนวน 18 คน ส่วนแหล่งฝึกถือว่าเป็นต้นทุนหนึ่งในการผลิตพยาบาล การวิจัยนี้จึงได้ออกแบบสำรวจค่าใช้จ่ายเพื่อจัดการศึกษาให้แก่คณะพยาบาลศาสตร์จากแหล่งฝึกของนักศึกษาพยาบาล จำนวน 10 แห่ง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้จำนวนร้อยละและค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1.ต้นทุนต่อหัวจำแนกตามภาควิชา และต้นทุนต่อหัวโดยรวมของภาครัฐ (เฉพาะคณะพยาบาลศาสตร์) เมื่อวิเคราะห์ต้นทุน จำแนกตามภาควิชาในปีงบประมาณ 2537-2540 พบว่า ภาควิชาที่ใช้ต้นทุนในการจัดการศึกษาสูงที่สุดคือ ภาควิชาการพยาบาลสูติ-นรีเวช (13.5%) รองลงมา คือภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ (12.81%) และภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุขศาสตร์ (12.8%) เมื่อจำแนกต้นทุนต่อหัวของแต่ละภาควิชา พบว่าต้นทุนต่อหัวใจการผลิตพยาบาลอยู่ระหว่าง 10,740-12,101 บาท/คน โดยภาควิชาที่มีต้นทุนต่อหัวต่ำสุด คือ ภาควิชาการพยาบาลจิตเวช (10,740 บาท/คน) และภาควิชาที่มีต้นทุนต่อหัวสูงสุด คือ (12,101 บาท/คน) เมื่อรวมต้นทุนต่อหัว (ทุกภาควิชา) พบว่าต้นทุนต่อหัวของนักศึกษาในส่วนภาครัฐ (คณะพยาบาลศาสตร์) เฉลี่ย 90,206 บาท/คน

2.ต้นทุนต่อหัวของนักศึกษาพยาบาล ในส่วนเฉพาะค่าใช้จ่ายส่วนตัวต้นทุน (ค่าใช้จ่ายส่วนตัว) ของนักศึกษาในหลักสูตรปริญญาตรี (ตลอด 4 ปี สำหรับปริญญาตรี และ 2ปีสำหรับปริญญาโท)

พบว่า ส่วนใหญ่เป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายประจำวันและการเดินทาง (64.3%) รองลงมา คือ ค่าลงทะเบียนการศึกษา (16.8%) ส่วนหลักสูตรปริญญาโทก็พบเช่นเดียว คือ ต้นทุนส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายประจำวันและค่าการเดินทางสูงที่สุด (35.9%) รองลงมาคือ ค่าอุปกรณ์การศึกษา (24.8%) โดยพบว่า ต้นทุนต่อหัว (ค่าใช้จ่ายส่วนตัว) ของนักศึกษาปริญญาตรีเท่ากับ 285,320 บาท/คน และต้นทุนต่อหัวของหลักสูตรปริญญาโทเท่ากับ 175,509 บาท/คน

3.ต้นทุนต่อหัวโดยรวม (ต้นทุนคณะพยาบาลศาสตร์ ต้นทุนค่าใช้จ่ายส่วนตัวและต้นทุนจากแหล่งฝึก)

เมื่อนำต้นทุนทุกหน่วยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษามาวิเคราะห์ พบว่า ต้นทุนต่อหัวของการผลิตพยาบาล ในหลักสูตรปริญญาตรีเท่ากับ 375,526 บาท/คน ในหลักสูตรปริญญาโท เท่ากับ 265,715 บาท/คน โดยพบว่าอัตราส่วนต้นทุนของภาครัฐ : ค่าใช้จ่ายส่วนตัวเท่ากับ 1: 3 ในหลักสูตรปริญญาตรี และ 1:2 หลักสูตรปริญญาโท

คำสำคัญ : ต้นทุนการผลิตพยาบาล,นักศึกษาพยาบาล,คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Downloads

How to Cite

1.
สิงห์ช่างชัย เ, อำพะมะ ส, นุ่นแก้ว ว. ต้นทุนการผลิตพยาบาลของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2012 Aug. 25 [cited 2024 Mar. 28];16(1):22. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2323