ประสบการณ์การรับรู้เกี่ยวกับความตายของผู้ป่วยเอดส์ ณ วัดแห่งหนึ่งในภาคใต้

Authors

  • ขวัญตา บาลทิพย์
  • อาภรณ์ เชื้อประไพศิลป์
  • พัชรียา ไชยลังกา

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยามีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายและอธิบายประสบการณ์การรับรู้เกี่ยวกับความตายของผู้ป่วยเอดส์ ณ วัดแห่งหนึ่งในภาคใต้ คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดจากผู้ป่วยที่มารับการรักษา ณ วัดแห่งนี้จำนวน 12 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การบันทึกภาคสนามและการบันทึกเทป ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2540 ถึงเดือนสิงหาคม 2541 และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการของโคไลซ์ซี่ (Colaizzi) ผลการศึกษาพบว่า ปรากฏการณ์การรับรู้เกี่ยวกับความตายของผู้ป่วยเอดส์สามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ การเผชิญกับภาวะใกล้ตาย การรอดพ้นจากความตาย และวิถีชีวิตหลังรอดพ้นจากความตาย ระยะที่ 1 การเผชิญกับภาวะใกล้ตาย เป็นสถานการณ์ที่ผู้ให้ข้อมูลรับรู้ว่าตนเองกำลังจะต้องตาย ซึ่งประกอบด้วย 5 หัวข้อ 1)สัญญาณของความตาย 2)ความหมายของความตาย 3)ปัจจัยที่มีผลต่อการให้ความหมายของความตาย 4) ปฏิกิริยาตอบสนองต่อความตาย และ 5)ความต้องการขณะเผชิญกับภาวะใกล้ตาย ระยะที่ 2 การรอดพ้นจากความตาย ผู้ให้ข้อมูลรับรู้ว่ามีสิ่งที่ช่วยให้มีชีวิตรอด คือ มีหัวใจสู้ มีแรงจูงใจ มีความดี อาศัยวันนี้ช่วยต่อชีวิต รักษาภาวะแทรกซ้อน และมีสิ่งศักดิ์เป็นที่พึ่ง และระยะที่ 3 วิถีชีวิตหลังรอดพ้นจากความตาย ผู้ให้ข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต โดยมีเป้าหมายหลัก 4 ประการ คือ ตั้งต้นใหม่รักษาชีวิต เปลี่ยนแปลงตัวเองให้สอดคล้องกับบรรทัดฐานสังคม เตรียมตัวตาย และสร้างความเจริญงอกงามของจิตวิญญาณ

คำสำคัญ : การตาย,กลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อม,โรคเอดส์,ประสบการณ์

Downloads

How to Cite

1.
บาลทิพย์ ข, เชื้อประไพศิลป์ อ, ไชยลังกา พ. ประสบการณ์การรับรู้เกี่ยวกับความตายของผู้ป่วยเอดส์ ณ วัดแห่งหนึ่งในภาคใต้. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2012 Aug. 25 [cited 2024 Apr. 18];16(1):39. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2324