พฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอดของชาวเขา

Authors

  • ศุภลักษณ์ อิ่มแก้ว

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวด ในระยะคลอดของชาวเขา กลุ่มตัวอย่างเป็นชาวเขาที่มาคลอดในห้องคลอดของโรงพยาบาลแม่สรวย เลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้การวิจัยเป็นแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและแบบสังเกตพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอด ซึ่งดัดแปลงมาจากแบบสังเกตพฤติกรรม การเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอด ของ สเตอร์รอค โดยฉวี เบาทรวง และสุพิศ รุ่งเรืองศรี (2537) หาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือโดยวิธีของสเปียร์แมน มีค่าเท่ากับ 0.87 ข้อมูลที่สมบูรณ์และใช้วิเคราะห์มีจำนวน 61 ชุด วิเคราะห์โดยการแจกแจงความถี่ คำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 23.7 ปี อายุต่ำสุด 15 ปี และสูงสุด 40 ปี ไม่ได้รับการศึกษา 43 ราย (71%) มีอาชีพเกษตรกรรม 57 ราย (94%) พูดภาษาไทยได้ 46 ราย (75%) ตั้งครรภ์เป็นครั้งแรก 28 ราย (46%) ได้รับการฝากครรภ์ 54 ราย (88.5%) คะแนนพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอดของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับปานกลาง (X=6.84,SD= 1.67) โดยกลุ่มตัวอย่างครรภ์แรกมีคะแนนพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอดต่ำกว่าครรภ์หลังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ : ความเจ็บปวด,การคลอด,ชาวเขา,พฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวด

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2012-08-25

How to Cite

1.
อิ่มแก้ว ศ. พฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอดของชาวเขา. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2012 Aug. 25 [cited 2024 Nov. 22];16(2):15. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2330