ผลของโปรแกรมการเตรียมคลอดต่อความรู้และพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอดในมารดาครรภ์แรก

Authors

  • ประทุมพร เพียรจริง
  • ละมัย วีระกุล
  • บุษยา ยารังสี
  • ผกา สุขเจริญ
  • สุทธิพร พรมจันทร์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกเตรียมคลอดซึ่งเจ้าหน้าที่พยาบาลห้องคลอดพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอดและระยะเวลาในการคลอดในมารดาครรภ์แรกที่มาฝากครรภ์และคลอดที่โรงพยาบาลพะเยา จำนวน 30 คน การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้

ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้เกี่ยวกับการคลอดหลังการเตรียมคลอดสูงกว่าก่อนเตรียมคลอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( P < .001 ) กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอดอยู่ในระดับดีโดยมีค่าเฉลี่ยของคะแนนการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอด เท่ากับ 5.89 และค่าเฉลี่ยระยะเวลาในการคลอดของกลุ่มตัวอย่าง ในระยะที่ 1,2 และ 3 เท่ากับ 5 ชั่วโมง 45 นาที ,24.13 นาที และ 7.2 นาที ตามลำดับ

ผลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยและคณะมีข้อเสนอแนะ คือพยาบาลด้านสูติกรรมควรมีการเตรียมหญิงตั้งครรภ์ทุกคนเพื่อการคลอดตั้งแต่ในระยะตั้งครรภ์ทุกคนเพื่อการคลอดตั้งแต่ในระยะตั้งครรภ์ โดยให้ความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์และการคลอด ให้หญิงตั้งครรภ์ได้ฝึกปฏิบัติเพื่อเผชิญกับความเจ็บปวดในระยะคลอด โดยการฝึกควบคุมการหายใจ การลูบหน้าท้อง การเพ่งจุดสนใจและการบริหารร่างกาย แล้วแจกคู่มือการเตรียมคลอดไปอ่านทบทวนที่บ้าน และเมื่อเข้าสู่ระยะคลอดพยาบาลควรมีการทบทวน  และให้ความช่วยเหลือหญิงตั้งครรภ์ให้สามารถปฏิบัติตัว เพื่อเผชิญกับความเจ็บปวดในระยะคลอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คำสำคัญ : การคลอด,ความเจ็บปวด,โปรแกรมการเตรียมคลอด,พฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวด,มารดาครรภ์แรก

Downloads

Published

2012-08-26

How to Cite

1.
เพียรจริง ป, วีระกุล ล, ยารังสี บ, สุขเจริญ ผ, พรมจันทร์ ส. ผลของโปรแกรมการเตรียมคลอดต่อความรู้และพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอดในมารดาครรภ์แรก. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2012 Aug. 26 [cited 2024 Mar. 29];16(3):25. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2340