ผลของการฝึกคิดสะท้อนกลับในการสอนภาคปฏิบัติต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล

Authors

  • ดรุณี ชุณหะวัต
  • จริยา ตันติกรกุล
  • ยุวดี ฦาชา

Abstract

ความสามารถในการแก้ปัญหาทางการพยาบาลเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับวิชาชีพทางการพยาบาล การวิจัยกึ่งทดลองแบบการวัดผลก่อนและหลังการสอนครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาของนักศึกษาพยาบาลที่ได้รับการสอนโดยใช้วิธีการคิดสะท้อนกลับ กับการสอนตามปกติ ทำการศึกษากับนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 ที่กำลังศึกษาภาคปฏิบัติการพยาบาลเด็ก 1 วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ จำนวน 32 คน แบ่งกลุ่มตามคะแนนเฉลี่ยวิชาชีพพยาบาลเด็ก แล้วจับสลากเข้าเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 16 คน กลุ่มควบคุมได้รับการสอนตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับการสอนตามปกติ ร่วมกับการนำวิธีคิดสะท้อนกลับมาใช้ในการประชุมปรึกษาหลังฝึกปฏิบัติ ประเมินความสามารถในการแก้ปัญหาทางการพยาบาลโดยใช้ข้อสอบอัตนัยประยุกต์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม

ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการสอนนักศึกษากลุ่มทดลอง มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางการพยาบาลสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( P<.05) นักศึกษากลุ่มทดลองแสดงความคิดเห็นว่า การฝึกคิดสะท้อนกลับทำให้เกิดการยอมรับตนเอง เพิ่มความมั่นใจในการทำงานและได้รับความรู้กว้างขวางขึ้น

ผลการวิจัยแสดงให้ว่า การคิดสะท้อนกลับในการสอนทางคลินิกส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและการเรียนรู้ของนักศึกษา ผู้วิจัยจึงเห็นว่าควรนำการฝึกคิดสะท้อนกลับมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติในคลินิกต่อไป

คำสำคัญ: การคิดสะท้อนกลับ,การสอนภาคปฏิบัติ,ความสามารถในการแก้ปัญหา,นักศึกษาพยาบาล

Downloads

Download data is not yet available.

How to Cite

1.
ชุณหะวัต ด, ตันติกรกุล จ, ฦาชา ย. ผลของการฝึกคิดสะท้อนกลับในการสอนภาคปฏิบัติต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2012 Aug. 26 [cited 2024 Nov. 22];16(3):63. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2343