การดูแลเอาใจใส่ในกระบวนการเรียนการสอนภาคปฏิบัติของอาจารย์พยาบาลตามการรับรู้ของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Authors

  • ศิริรัตน์ สุกีธร
  • พยอม อยู่สวัสดิ์
  • ยุวดี วัฒนานนท์
  • ทัศนีย์วรรณ พฤกษาเมธานันท์
  • วชิรา วรรณสถิต
  • เบญจวรรณ คุณรัตนาภรณ์

Abstract

วิชาชีพการพยาบาลเป็นวิชาชีพที่มีการศึกษาภาคปฏิบัติเป็นหัวใจสำคัญ โดยการสอนภาคปฏิบัติเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากการมีสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์และนักศึกษา และมีอาจารย์เป็นผู้ให้การดูแลเอาใจใส่นักศึกษาเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติการพยาบาล ซึ่งการดูแลเอาใจใส่นี้เป็นศิลปะที่นักศึกษาเรียนรู้ และรับรู้ได้ ที่ส่งผลให้นักศึกษารู้สึกมีคุณค่าในตนเอง เลือกประกอบวิชาชีพพยาบาลและสามารถให้การดูแลเอาใจใส่บุคคลอื่นๆ ได้ในทางตรงกันข้ามถ้านักศึกษารับรู้ว่าอาจารย์ไม่ให้การดูแล เอาใจใส่ นักศึกษาจะขาดความมั่นใจ ไม่อยากเรียน และขาดความนับถือในตัวอาจารย์ด้วย โรช (Roach,1987) เน้นว่าอาจารย์ต้องแสดงพฤติกรรมการดูแลเอาใจใส่ต่อนักศึกษาที่แสดงออกใน 5 พฤติกรรม คือ ความเห็นอกเห็นใจความรู้ความสามารถ ความไว้วางใจ การมีจิตสำนักทางจริยธรรม และการยึดมั่นผูกพันรวมทั้งการวางตัวที่เหมาะสมของอาจารย์ด้วย จากเหตุผลดังกล่าวจึงใคร่ศึกษาการับรู้ของนักศึกษาพยาบาลต่อพฤติกรรมการดูแลเอาใจใส่ของอาจารย์พยาบาลที่ปฏิบัติต่อนักศึกษาในการสอนภาคปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา 2540 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคลและแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลเอาใจใส่โดยใช้กรอบทฎีของโรช วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยการทดสอบที (t-test) ผลการศึกษาพบว่าพฤติกรรมการดูแลเอาใจใส่ในกระบวนการเรียนการสอนภาคปฏิบัติของอาจารย์ตามการรับรู้ของนักศึกษาอยู่ในระดับมาก โดยค่าเฉลี่ยด้านความรู้ความสามารถเท่ากับ 4.06 ค่าเฉลี่ยด้านความไว้วางใจ เท่ากับ 4.02 ค่าเฉลี่ยด้านการมีจิตสำนึกทางจริยธรรม เท่ากับ 4.02 ค่าเฉลี่ยด้านการมีจิตสำนึกทางจริยธรรม เท่ากับ 4.22 ค่าเฉลี่ยด้านการยึดมั่นผูกพัน เท่ากับ 4.09 ส่วนค่าเฉลี่ยด้านความเห็นอกเห็นใจเท่ากับ 3.65 ซึ่งอยู่ในระดับค่อนข้างมาก และพบว่าค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมการดูแลเอาใจใส่ของอาจารย์ตามการรับรู้ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปี 4 น้อยกว่าค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมการดูแลเอาใจใส่ของอาจารย์ตามการรับรู้ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปี 3 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.001 ดังนั้นอาจารย์พยาบาลควรตระหนักถึงพฤติกรรมการดูแลเอาใจใส่ในกระบวนการสอนภาคปฏิบัติแก่นักศึกษาทุกชั้นปี โดยเฉพาะควรเน้นด้านความเห็นอกเห็นใจ

คำสำคัญ : การรับรู้,การดูแลเอาใจใส่,การเรียนการสอนภาคปฏิบัติ,อาจารย์พยาบาล,นักศึกษาพยาบาล

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

1.
สุกีธร ศ, อยู่สวัสดิ์ พ, วัฒนานนท์ ย, พฤกษาเมธานันท์ ท, วรรณสถิต ว, คุณรัตนาภรณ์ เ. การดูแลเอาใจใส่ในกระบวนการเรียนการสอนภาคปฏิบัติของอาจารย์พยาบาลตามการรับรู้ของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2012 Aug. 26 [cited 2024 Dec. 23];16(4):28. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2347