ประสบการณ์การได้รับการดูแลในระยะคลอดของหญิงมุสลิมที่คลอดกับผดุงครรภ์โบราณ

Authors

  • วรรณา บัวขาว
  • วรรณี จันทร์สว่าง
  • สุรีย์พร กฤษเจริญ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยา มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายและอภิบายถึงประสบการณ์การได้รับการดูแลในระยะคลอดของหญิงมุสลิมที่คลอดกับผดุงครรภ์โบราณ ผู้ให้ข้อมูลเป็นหญิงมุสลิมในพื้นที่แห่งหนึ่งของจังหวัดปัตตานี คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลโดยวิธีสุ่มแบบมีมิติ ตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ จำนวน 12 ราย เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกการบันทึกเทป การจดบันทึกภาคสนาม เป็นเวลา 6 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลของโคไลซี่ (Colaizzi)

ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ การให้ความหมายดูแลในระยะคลอดที่ได้รับจากผดุงครรภ์โบราณ ผู้ให้ข้อมูลให้ความหมายการดูแลเปรียบเสมือนแม่ดูแลลูก โดยการดูแลที่หญิงมุสลิมได้รับจากผดุงครรภ์โบราณในระยะคลอด แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การดูแลประกอบด้วย 1)สำรวจร่างกายโดยการคลำท้อง ตรวจภายในและดูช่องคลอด 2) คลายปวดโดยการพูดปลอบใจ และนวดตัว ลูบท้อง 3)เตรียมความพร้อมด้านร่างกายโดย การแต่งท้อง ผูกท้อง จัดท่าคลอด ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ภายนอก งดน้ำ งดอาหารดูแลเรื่องขับถ่าย และ 4)สร้างกำลังใจโดยการสวดมนต์ ให้ญาติอยู่ด้วย และให้กินน้ำมนต์ ระยะ 2 การดูแลประกอบด้วย 1) คลึงมดลูก กดท้องน้อยและ 2)สวดมนต์ให้กินน้ำมนต์ และระยะที่ 4 การดูแลประกอบด้วย การดูแลลูก ได้แก่ กระตุ้น ลูกร้อง ตัดสายสะดือ อาบน้ำให้ลูก ขอพรพระเจ้าให้ลูก และการดูแลแม่ ได้แก่ นวดร่างกาย อาบน้ำสมุนไพร สำหรับความรู้สึกของหญิงมุสลิมต่อการได้รับการดูแลในระยะคลอดจากผดุงครรภ์โบราณเป็นไปใน 3 ลักษณะคือ 1) อบอุ่นใจ 2)ดีใจ ภูมิใจ และ 3)พอใจ ประทับใจ

คำสำคัญ :  การดูแลในระยะคลอด ,สตรีมุสลิม,การคลอด,ผดุงครรภ์โบราณ

Downloads

Published

2012-08-26

How to Cite

1.
บัวขาว ว, จันทร์สว่าง ว, กฤษเจริญ ส. ประสบการณ์การได้รับการดูแลในระยะคลอดของหญิงมุสลิมที่คลอดกับผดุงครรภ์โบราณ. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2012 Aug. 26 [cited 2024 Apr. 20];18(2):53. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2363