ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการนอนหลับ ความปวด และผลลัพธ์ของผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้อง
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพกานอนหลับ ความปวด และผลลัพธ์ของผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้อง รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเหล่านี้ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้องซึ่งได้รับการผ่าตัดแบบไม่ฉุกเฉิน จำนวน 100 ราย ที่เข้ารับการผ่าตัดในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 5 แห่งในภาคใต้ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 4 ส่วนประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถาม คุณภาพการนอนหลับ แบบประเมินความปวด และแบบประเมินผลลัพธ์ของผู้ป่วยหลังผ่าตัดซึ่งครอบคลุมความสุขสบายการเคลื่อนไหวร่างกายภายหลังการผ่าตัด และระยะเวลาที่พักในโรงพยาบาล
ผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า
1.คุณภาพการนอนหลับหลังผ่าตัด 3 วัน วันแรกอยู่ในระดับไม่ดี (X = 7.06 คะแนน) หลังจากนั้นคุณภาพการนอนกลับมีแนวโน้มจะดีขึ้นส่วนความปวดหลังผ่าตัด 3 วัน วันแรกอยู่ในระดับมาก (X = 8.62) หลังจากนั้นความปวดจะลดลงหลังผ่าตัด
2.ผลลัพธ์ของผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้อง
2.1ความสุขสบายหลังผ่าตัด 3 วัน วันแรกมีความสุขสบายน้อย(X = 3.51 คะแนน) หลังจากนั้นความสุขสบายจะค่อยๆ เพิ่มขึ้น2.ผลลัพธ์ของผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้อง
2.2การเคลื่อนไหวร่างกายภายหลังจากผ่าตัด (ครั้งแรก) เริ่มนั่งบนเตียงเฉลี่ยที่ 30.9 ชั่วโมง และเริ่มยืน/นั่งข้างเตียงเฉลี่ยที่ 50.5 ชั่วโมงการเดินรอบเตียงเฉลี่ยที่ 63.3 ชั่วโมง และเดินไปห้องน้ำเฉลี่ย 69.7 ชั่วโมง
3.ความสัมพันธ์ของคุณภาพการนอนหลับและความปอด กับผลลัพธ์ของผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้อง
3.1คุณภาพการนอนหลับมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขสบาย (r=0.53 ถึง 0.67) มีความสัมพันธ์ทางลบกับความปวด (r= -0.42 ถึง -0.54) ระยะเวลาการเคลื่อนไหวร่างกายภายหลังการผ่าตัด (r= -0.44 ถึง -0.50) และระยะเวลาที่พักในโรงพยาบาล (r= -0.44) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) เมื่อควบคุมตัวแปรที่อาจมีผลต่อผลลัพธ์หลังผ่าตัด ได้แก่ เพศ อายุ ขนาด แผลผ่าตัด ระยะเวลาในการผ่าตัด ชนิดของการผ่าตัดและความปวดด้วยสถิติ โดยวิเคราะห์ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เชิงส่วน พบว่า คุณภาพการนอนหลับ ยังคงมีความสัมพันธ์กับความสุขสบายการเคลื่อนไหวร่างกายภายหลังการผ่าตัด และระยะเวลาที่พักในโรงพยาบาล
3.2ความปวดมีความสัมพันธ์ทางลบกับความสุขสบาย (r= -0.34 ถึง -0.49) และมีความสัมพันธ์บวกกับระยะเวลาการเคลื่อนไหวร่างกายภายหลังการผ่าตัด (r = 0.38 ถึง 0.42) และระยะเวลาที่พักในโรงพยาบาล (r= 0.34) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.01) เมื่อควบคุมตัวแปรทีอาจมีผลลัพธ์หลังผ่าตัด ได้แก่ เพศ อายุ ขนาดแผล ผ่าตัด ระยะเวลาในการผ่าตัด ชนิดของการผ่าตัด และคุณภาพการนอนหลับด้วยสถิติ โดยวิเคราะห์ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เชิงส่วน พบว่า ความปวดยังคงมีความสัมพันธ์กับความสุขสบาย การเคลื่อนไหวร่างกายภายหลังการผ่าตัด และระยะเวลาที่พักในโรงพยาบาล
คำสำคัญ : การนอน, คุณภาพการนอนหลับ,ความปวด,ผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้อง