การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการลดความเจ็บปวดระหว่างการทำแผลในผู้ป่วยไหม้

Authors

  • ชิดชนก มยูรภักดิ์

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างแนวปฏิบัติการพยาบาลในการลดความเจ็บปวดระหว่างการทำแผลสำหรับผู้ป่วยแผลไหม้ตามแนวคิดการใช้ผลงานวิจัยของไอโอวา ขั้นตอนการพัฒนาประกอบด้วยการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาจากประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน จากองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องและการสังเกตผู้ป่วยในสถานการณ์จริง การกำหนดคำสำคัญเพื่อสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์จากฐานข้อมูล OVID, CINAHL,MEDLINE,SCIENCEDIRECT,PUBMED,BLACKWELL,www.burncarerehab.com และสืบค้นด้วยมือ ได้งานวิจัย จำนวน 13 เรื่อง นำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ได้ประเด็นหลักสำหรับการบำบัดความเจ็บปวด 3 ประเด็น คือ วิธีการบำบัดความเจ็บปวดแบบไม่ใช่ยา การจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการบำบัดความเจ็บปวด และการประเมินความเจ็บปวดและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเจ็บปวด

ผู้ศึกษาได้นำประเด็นต่างๆ ที่สกัดได้จากงานวิจัยไปพัฒนาเป็นแนวปฏิบัติการพยาบาล ขั้นตอนการพยาลเพื่อลดความเจ็บปวด และคู่มือการบำบัดความเจ็บปวดสำหรับผู้ป่วยแผลไหม้ระหว่างการทำแผล

หาความแม่นตรงเชิงเนื้อหาของแนวปฏิบัติโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงวุฒิ และนำแนวปฏิบัติไปใช้ในการพยาบาลผู้ป่วยแผลไหม้ จำนวน 3 ราย ในหอผู้ป่วยแผลไหม้ของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งพบว่า มีความเป็นไปได้ในการนำแนวปฏิบัติเพื่อลดความเจ็บปวดระหว่างการทำแผลไปใช้ในสถานการณ์จริง โดยที่พยาบาลควรมีทางเลือกในการบำบัดความเจ็บปวดแก่ผู้ป่วยตามต้องการอย่างเหมาะสม

จากผลการศึกษามีข้อเสนอแนะว่าควรมีการทดสอบประสิทธิผลของแนวปฏิบัติด้วยการทำวิจัยทางคลินิก และเพื่อให้แนวปฏิบัติการพยาบาลเกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน และควรมีการเผยแพร่แนวปฏิบัติการพยาบาลสู่หน่วยงานและเครือข่ายพยาบาลผู้ดูแลผู้ป่วยแผลไหม้

คำสำคัญ : ผู้ป่วยแผลไหม้ ความปวด การทำแผล แนวปฏิบัติ

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

1.
มยูรภักดิ์ ช. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการลดความเจ็บปวดระหว่างการทำแผลในผู้ป่วยไหม้. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2012 Aug. 27 [cited 2024 Nov. 22];21(2):72. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2385

Issue

Section

Clinical nursing practice guidelines