ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการถูกทำร้ายในผู้สูงอายุสตรีไทย

Authors

  • โรจนี จินตนาวัฒน์
  • กนกพร สุคำวัง
  • ศิริรัตน์ ปานอุทัย

Abstract

การถูกทำร้ายของผู้สูงอายุแม้ว่าเป็นปัญหาทางสังคมที่รุนแรงและซับซ้อนในสังคมปัจจุบัน แต่การศึกษาปัญหานี้ในประเทศไทยยังมีจำกัดการวิจัยเชิงพรรณนาแบบวิเคราะห์เปรียบเทียบครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของการถูกทำร้ายของผู้สูงอายุสตรีไทย และอำนาจการทำนายของปัจจัยเสี่ยงที่มีต่อการถูกทำร้ายของผู้สูงอายุสตรีไทย กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุจำนวน 304 ราย ที่คัดเลือกจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) เครื่องมือคัดกรองการถูกทำร้ายของผู้สูงอายุสมาชิกในครอบครัว 2) แบบประเมินปัจจัยเสี่ยงของการถูกทำร้ายของผู้สูงอายุจากสมาชิกในครอบครัว และ 3)ดัชนีการ์เธลเอดีแอล และดัชนีจุฬาเอดีแอล

ผลการวิจัยพบว่า ร้อยละ 46.4 ของผู้สูงอายุสตรีไทยที่มีประสบการณ์ของการถูกทำร้าย ความชุกของการถูกทำร้ายทางด้านจิตใจร้อยละ 39.5 การเอาผลประโยชน์จากผู้สูงอายุร้อยละ 20.4 การล่วงละเมิดสิทธิของผู้สูงอายุร้อยละ 11.5 การทดทิ้งร้อยละ 11.2 และการทำร้ายทางด้านร่างกายร้อยละ 6.2  ปัจจัยเสี่ยงของการถูกทำร้ายของผู้สูงอายุสตรีไทย ได้แก่ทัศนคติของสมาชิกในครอบครัวที่มีต่อผู้สูงอายุไม่ดีสมาชิกในครอบครัวที่มีประวัติดื่มเหล้าและหรือเสพยา สภาพความเป็นอยู่ภายในครอบครัวไม่ดี การพึ่งพาทางด้านเศรษฐกิจ และสภาวะสุขภาพ มีอำนาจร่วมกันในการทำนายการถูกทำร้ายของผู้สูงอายุสตรีไทยร้อยละ 79.3 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .001

ผลการวิจัยครั้งนี้ให้ข้อมูลที่สำคัญที่พยาบาลและบุคคลกรสุขภาพอื่น สามารถนำไปสู่การวางแผนพัฒนาและจัดกิจกรรมเพื่อการป้องกัน การจัดการปัญหาการถูกทำร้ายของผู้สูงอายุ ตลอดจนวางแผนระบบเฝ้าระวังปัญหาการถูกทำร้ายของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงต่อไป

คำสำคัญ : ความชุก ปัจจัยเสี่ยง การถูกทำร้าย ผู้สูงอายุสตรีไทย

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2012-08-28

How to Cite

1.
จินตนาวัฒน์ โ, สุคำวัง ก, ปานอุทัย ศ. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการถูกทำร้ายในผู้สูงอายุสตรีไทย. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2012 Aug. 28 [cited 2024 Nov. 22];21(3):31. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2390