ประสิทธิผลการการใช้แนวปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจที่มีพื้นฐานบนความรู้เชิงประจักษ์ในผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
Abstract
การศึกษาครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจที่มีพื้นฐานบนความรู้เชิงประจักษ์ในผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ เป็นการวิจัยเชิงเปรียบเทียบก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ กลุ่มก่อนใช้แนวปฏิบัติจำนวน 59 คน และกลุ่มใช้แนวปฏิบัติ จำนวน 55 คน การศึกษาครั้งนี้ประยุกต์ใช้กรอบการพัฒนา การใช้ และการปฏิบัติทางคลินิกของสภาวิจัยด้านการแพทย์และสาธารณสุข ประเทศออสเตรเลียเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบบันทึกประสิทธิผลของการหย่าเครื่องช่วยหายใจ เปรียบเทียบความแตกต่างของระยะเวลาที่ใช้ในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ จำนวนวันที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ ค่าใช้จ่ายจำนวนวันนอนในหอผู้ป่วยวิกฤต และอัตราการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำ ระหว่างสองกลุ่มโดยใช้สถิติ ทดสอบที (T-test)
ผลการวิจัยพบว่าการใช้แนวปฏิบัติการหย่าเครื่องหายใจที่มีพื้นฐานบนความรู้เชิงประจักษ์สามารถสามารถลดระยะเวลาในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ และค่าใช้จ่ายลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสามารถลดจำนวนวันที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ และจำนวนวันนอนในหอผู้ป่วยวิกฤตลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนอัตราการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำไม่มีความแตกต่างกัน
คำสำคัญ : แนวปฏิบัติทางคลินิก การหย่าเครื่องช่วยหายใจ การปฏิบัติตามหลักฐานความรู้เชิงประจักษ์การประเมินผลลัพธ์ ผู้ป่วยวิกฤต