ปัจจัยทำนายภาวะสุขภาพของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด

Authors

  • วารุณี พลิกบัว
  • สายพิณ เกษมกิจวัฒนา
  • รุ้งนภา ผาณิตรัตน์
  • สุรชาติ จักรภีร์ศิริสุข

Abstract

การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหวัง ความพร้อมในการดูแล และความวิตกกังวลจากการดูแลต่อภาวะสุขภาพของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด โดยใช้ทฤษฎีการเผชิญความเครียดของลาซารัสและโฟล์คแมน เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือ ญาติผู้ดูแลหลักที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัดอย่างน้อย 1 ครั้ง และเป็นผู้พาผู้ป่วยมารับการตรวจรักษาที่หน่วยเคมีบำบัดโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ กรุงเทพมหานคร จำนวน 90 ราย เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ เครื่องมือวิจัย คือ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความหวังของเฮิร์ท แบบวัดความพร้อมในการดูแล และแบบวัดความวิตกกังวลจากการดูแลของสจ๊วตและอาร์ชโบลด์ แบบวัดภาวะสุขภาพของแวร์และเชอร์โบลด์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการวิจัย พบว่า ความวิตกกังวลจากการดูแลมีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะสุขภาพ (r= -.494., p< .001) สามารถทำนายภาวะสุขภาพของญาติผู้ดูแลได้ร้อยละ 24.5 ความหวังมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะสุขภาพ ( r= .433, p < .001) สามารถทำนายภาวะสุขภาพของญาติผู้ดูแลได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 ทั้งความวิตกกังวลจากการดูแลและความหวังสามารถทำนายภาวะสุขภาพได้ ร้อยละ 34.7 ส่วนความพร้อมในการดูแลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะสุขภาพ (r=.320, p < .001) แต่ไม่สามารถทำนายภาวะสุขภาพของญาติผู้ดูแลได้

ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ควรมีการประเมินภาวะสุขภาพของญาติผู้ดูแล โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีปัญหาสุขภาพอยู่เดิมร่วมกับการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคแนวทางการรักษาและการฝึกทักษะที่จำเป็นในการดูแลผู้ป่วยเพื่อลดความวิตกกังวลและให้มีความพร้อมในการดูแลรวมถึงการส่งเสริมให้มีความหวังตามความเป็นจริง

คำสำคัญ : ความหวัง ความพร้อมในการดูแล ความวิตกกังวลจากการดูแล ภาวะสุขภาพ ญาติผู้ดูแล

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2012-08-28

How to Cite

1.
พลิกบัว ว, เกษมกิจวัฒนา ส, ผาณิตรัตน์ ร, จักรภีร์ศิริสุข ส. ปัจจัยทำนายภาวะสุขภาพของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2012 Aug. 28 [cited 2024 Dec. 23];21(4):44. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2397