ผลของการโค้ชต่อความรู้และการปฏิบัติเพื่อป้องกันภาวะพร่องออกซิเจนในเลือดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดของพยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วยพักฟื้นโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
Abstract
ภาวะพร่องออกซิเจนในเลือดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดในหอผู้ป่วยพักฟื้น เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้เสมอในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดและได้รับยาระงับความสึกทั่วร่างกาย ก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้ป่วยในด้านร่างกายซึ่งอาจสูญเสียชีวิตได้ ถ้าได้รับการดูแลที่ล่าช้า ภาวะพร่องออกซิเจนในเลือดสามารถป้องกันได้ถ้าพยาบาลวิชาชีพมีความรู้และทักษะในการดูแลอย่างเหมาะสม การศึกษากึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการโค้ชต่อความรู้และการปฏิบัติในการดูแลเพื่อป้องกันภาวะพร่องออกซิเจนในเลือดผู้ป่วยหลังผ่าตัดของพยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วยพักฟื้น กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยพักฟื้น งานการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดและพักฟื้น โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จำนวน 15 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการศึกษาคือ แผนการโค้ชและคู่มือการดูแลเพื่อป้องกันภาวะพร่องออกซิเจนในเลือดในผู้ป่วยหลังผ่าตัด เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลทั่วไปแบบสอบถามความรู้และแบบสังเกตการณ์ปฏิบัติในการดูแลเพื่อป้องกันภาวะพร่องออกซิเจนในเลือดในผู้ป่วยหลังผ่าตัด เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลทั่วไปแบบสอบถามความรู้และแบบสังเกตการปฏิบัติในการดูแลเพื่อป้องกันภาวะพร่องออกซิเจนในเลือดในผู้ป่วยหลังผ่าตัด ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความรู้เท่ากับ.081และการสังเกตเท่ากับ 1 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทีที่ไม่อิสระ ผลการศึกษาพบว่าหลังการโค้ชพยาบาลวิชาชีพมีความคะแนนความรู้และคะแนนปฏิบัติการดูแลเพื่อป้องกันภาวะพร่องออกซิเจนในเลือดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดสูงกว่าก่อนโค้ชอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้คือ ควรมีการนำวิธีการโค้ชมาใช้ในการเพิ่มพูนความรู้และทักษะของพยาบาลในการปฏิบัติพยาบาลในหน่ายงานต่างๆ
คำสำคัญ : การโค้ช ภาวะพร่องออกซิเจนในเลือดในผู้ป่วยหลังผ่าตัด หอผู้ป่วยพักฟื้นผ่าตัด