การสนับสนุนทางสังคม ความรู้และความสามารถในการดูแลตนเองของสตรีตั้งครรภ์ที่มีการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด

Authors

  • ฉวีวรรณ อยู่สำราญ
  • อัมพร คงจีระ
  • ราตรี ศิริสมบูรณ์
  • กาญจนา พิมล
  • อัมพัน เฉลิมโชคเจริญกิจ

Abstract

การวิจัยเชิงบรรยายนี้ เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายความสามารถในการดูแลตนเองของสตรีตั้งครรภ์ที่มีการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดโดยใช้กรอบแนวคิดการดูแลตนเองของโอเร็มกลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีตั้งครรภ์ที่มีการเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด ที่มารักษาที่ห้องคลอดคณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลศิริราช โดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 100 คน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดการสนับสนุนทางสังคมของเฮาส์แบบวัดความรู้และแบบวัดความสามารถในการดูแลตนเองที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยาย ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 50 มีอายุครรภ์ระหว่าง 33-35 สัปดาห์ได้รับการสนับสนุนทางสังคมระดับปานกลาง (50.5%) มีระดับความรู้มาก (83%) และความสามารถในการดูแลตนเองมีระดับมาก (75%) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการดูแลตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ ระดับการศึกษา การสนับสนุนทางสังคม และ ความรู้ นอกจากนี้ยังพบว่าการสนับสนุนทางสังคม (30.7%) ความรู้ (37.9%) และอายุ (2.4%) ร่วมกันทำนายความสามารถในการดูแลตนเอง ได้ร้อยละ 71 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ข้อเสนอแนะจากการวิจัย พยาบาลต้องสนับสนุนและกระตุ้นให้สามีและบุคคลในครอบครัว ให้ความรัก ความเอาใจใส่ทางด้านอารมณ์ และให้ข้อมูลต่างๆ รวมทั้งการให้ความรู้ในการป้องกันการเจ็บครรภ์ก่อนกำหนดแก่สตรีตั้งครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 33 สัปดาห์ซึ่งเป็นช่วงที่เสี่ยงต่อการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด

คำสำคัญ  : สตรีตั้งครรภ์ ที่มีการเจ็บปวดครรภ์คลอดก่อนกำหนด การดูแลตนเองการสนับสนุนทางสังคม ความรู้และความสามารถในการดูแลตนเอง

Downloads

Published

2012-08-28

How to Cite

1.
อยู่สำราญ ฉ, คงจีระ อ, ศิริสมบูรณ์ ร, พิมล ก, เฉลิมโชคเจริญกิจ อ. การสนับสนุนทางสังคม ความรู้และความสามารถในการดูแลตนเองของสตรีตั้งครรภ์ที่มีการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2012 Aug. 28 [cited 2024 Apr. 25];22(1):60. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2406