ผลของโปรแกรมการฝึกบริหารแนวชี่กงร่วมกับการให้ความรู้ต่ออาการหายใจลำบากของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

Authors

  • ปิยกานต์ บุญเรือง
  • สุนิดา ปรีชาวงษ์

Abstract

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็นหนึ่งในโรคเรื้อรังที่พบมากในประเทศไทย โดยผู้ป่วยมักจะมีข้อจำกัดในการทำกิจกรรมต่างๆ เนื่องมาจากอาการหายใจลำบาก การฟื้นฟูสมรรถภาพปอดเป็นทางเลือกหนึ่งในการลดอาการหายใจลำบาก  การฝึกบริหารแนวชี่กงเป็นการออกกำลังกายที่ประกอบด้วย การเคลื่อนไหวร่างกาย การบริหารการหายใจและการพัฒนาจิตไปพร้อมกัน จึงถือว่ามีประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในการลดอาการหายใจลำบาก

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกบริหารแนวชี่กงร่วมกับการให้ความรู้ต่ออาการหายใจลำบากขอผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโดยบูรณาการแนวคิดการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด ร่วมกับรูปแบบการบริหารแนวชี่กงและการติดตามเยี่ยมบ้านเป็นกรอบแนวคิดของการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลน่าน จำนวน 40 คน โดยจัด 20 คนแรกเข้าร่วมควบคุม และ 20 คนหลัง เข้ากลุ่มทดลอง ซึ่งจับคู่ในเรื่อง อายุ เพศ และระดับความรุนแรงของโรค โดยมีกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับความรุนแรงของโรค โดยที่กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลปกติด ส่วนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการฝึกบริหารแนวชี่กงร่วมกับการให้ความรู้ การเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินอาการหายใจลำบาก ( Modified Borg’s Scale) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยพบว่าค่าเฉลี่ยของระดับอาการหายใจลำบากของกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลปกติ (p < .05) และค่าเฉลี่ยของระดับอาการหายใจลำบากของกลุ่มทดลองภายหลังการฝึกบริหารแนวชี่กงมีค่าน้อยกว่าก่อนการฝึก ( p < .05)

คำสำคัญ :  โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง อาการหายใจลำบาก ชี่กง การให้ความรู้

Downloads

Published

2012-09-04

How to Cite

1.
บุญเรือง ป, ปรีชาวงษ์ ส. ผลของโปรแกรมการฝึกบริหารแนวชี่กงร่วมกับการให้ความรู้ต่ออาการหายใจลำบากของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2012 Sep. 4 [cited 2024 Mar. 29];22(3):17. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2439