ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

Authors

  • สุดกัญญา ปานเจริญ
  • ปริทรรศน์ วันจันทร์ที่

Abstract

การวิจัยเชิงพรรณานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตเทศบาลนครสวรรค์โดยใช้แบบจำลองการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนแบบแบ่งชั้นจากนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตเทศบาลนครสวรรค์ ปีการศึกษา 2546 จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ การสัมภาษณ์การรับรู้อุปสรรค์ต่อการออกกำลังกาย การรับรู้สมรรถนะแห่งตนด้านการออกกำลังกาย การสนับสนุนทางสังคมด้านการออกกำลังกาย และพฤติกรรม ออกกำลังกาย การสนับสนุนทางสังคมด้านการออกกำลังกาย และพฤติกรรม ออกกำลังกาย วิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้อุปสรรคต่อการออกกำลังกายอยู่ในระดับต่ำ การรับรู้สมรรถนะแห่งตนด้านการออกกำลังกายการสนับสนุนทางสังคมด้านการออกกำลังกาย และพฤติกรรมการออกกำลังกายอยู่ในระดับปานกลางการรับรู้อุปสรรคของการออกกำลังกายมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการออกกำลังกาย (r = - 0.44, p<.01) ในขณะที่การรับรู้สมรรถนะแห่งตนด้านการออกกำลังกาย และการสนับสนุนทางสังคมด้านการออกกำลังกายมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการออกกำลังกาย ( r=0.59, p<.01, r=0.24,p<.01 ตามลำดับ) การรับรู้อุปสรรคของการออกกำลังกาย การรับรู้สมรรถนะแห่งตนด้านการออกกำลังกายและการสนับสนุนทางสังคมด้านการออกกำลังกาย ร่วมกันทำนายพฤติกรรมการออกกำลังกายได้ร้อยละ 40.60 (p<.01)

Downloads

Published

2012-09-04

How to Cite

1.
ปานเจริญ ส, วันจันทร์ที่ ป. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2012 Sep. 4 [cited 2024 Mar. 29];22(3):80. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2444