อุปสรรคต่อการจัดการความปวดจากโรคมะเร็งโดยการใช้ยา : เปรียบเทียบความเชื่อระหว่างผู้ป่วย และผู้ดูแล
Abstract
การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุปสรรคต่อการจัดการความปวดจากโรคมะเร็งโดยการใช้ยาตามความเชื่อของผู้ป่วยโรคมะเร็งและผู้ดูแล และเปรียบเทียบความแตกต่างของอุปสรรคต่อการจัดการความปวดดังกล่าวระหว่างผู้ป่วยโรคมะเร็งและผู้ดูแลศึกษาในผู้ป่วยโรคมะเร็งและผู้ดูแล 97 คู่ ณ แผนกผู้ป่วยในของโรงพยาบาล ศูนย์ภาคใต้ 3 แห่ง และศูนย์มะเร็.งภาคใต้ 1 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความปวดแบบตัวเลข และแบบประเมินอุปสรรคการจัดการความปวด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย สถิติที่อิสระ และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า อุปสรรคต่อการจัดการความปวดโดยรวมตามความเชื่อของผู้ป่วยโรคมะเร็งและผู้ดูแลอยู่ในระดับปานกลาง โดยอุปสรรคที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงเป็น 3 อันดับแรก คือ อุปสรรคด้านกลัวดื้อยาแก้ปวด กลัวติดยาแก้ปวด และกลัวไม่สามารถติดตามอาการตนเองได้ ตามลำดับ ผู้ป่วยมะเร็งและผู้ดูแลมีอุปสรรคต่อการจัดการความปวดของโรคมะเร็งโดยการใช้ยาไม่ความแตกต่างกัน และผู้ป่วยที่มีระดับความรุนแรงของความปวดต่างกัน มีอุปสรรคต่อการ จัดการความปวดจากโรคมะเร็งโดยการใช้ยาไม่แตกต่างกัน
ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งและผู้ดูแลมีอุปสรรคต่อการจัดการความปวดจากโรคมะเร็งโดยการใช้ยายังไม่ถูกต้อง พยาบาลควรให้ความสำคัญในเรื่องนี้ โดยควรมีการประเมินอุปสรรคต่อการจัดการความปวดจากโรคมะเร็งโดยการใช้ยาอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องเกี่ยวกับการใช้ยาแก้ปวด และนำไปสู่การวางแผนการจัดการโปรแกรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยโรคมะเร็งและผู้ดูแล เพื่อปรับเปลี่ยนความเชื่อ ให้ถูกต้อง โดยมีเป้าหมายเพื่อให้การจัดการความปวดในผู้ป่วยโรคมะเร็งในประเทศไทยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
คำสำคัญ : ความเชื่อ อุปสรรคการจัดการความปวด ผู้ป่วยโรคมะเร็ง.ที่มีความปวด ผู้ดูแล