ปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยปกป้องในการทำร้ายตนเอง

Authors

  • ณัฏฐญา พัฒนะวาณิชนันท์
  • ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์
  • รุจิดา ศิริวัฒนา

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยปกป้องในการทำร้ายตนเองสภาวการณ์ ด้านสุขภาพกาย จิต สังคม และเศรษฐกิจ ตลอดจนความต้องการช่วยเหลือของผู้ทำร้ายตนเอง ในเขตตรวจราชการที่ 3 โดยเป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบ เคส-คอนโทรล (Case-Control Study) ศึกษาผู้ที่มาใช้บริการใน สถานบริการสาธารณสุข เขตตรวจราชการที่ 3 ระหว่าง 1 มกราคม -31 ธันวาคม 2550 กลุ่มที่ศึกษา (Case Group) เป็นผู้ที่ทำร้ายตนเองแต่ไม่เสียชีวิต จำนวน 43 คน (33.6%) และกลุ่มควบคุม (Control Group) เป็นผู้ป่วยทั่วไป จำนวน 85 คน (66.4%) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือแบบสัมภาษณ์ระบาดวิทยาผู้ทำร้ายตนเอง ปี พ.ศ.2550 ของกรมสุขภาพจิตวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา หาค่าความเสี่ยงสัมพันธ์ (Odd ratio) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบลอจิสติด ในการวิเคราะห์ตัวแปรเชิงเดี่ยวและตัวแปรเชิงซ้อน

ผลการวิจัย พบว่า ผู้ทำร้ายตนเองแต่ไม่เสียชีวิต ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย (65.1% และ 34.9%) อายุระหว่าง 30-39 ปี (27.9%) สถานภาพสมรส คู่ มากกว่าโสด (62.8% และ 27.9%) ประกอบอาชีพรับจ้างหรือใช้แรงงาน และเกษตรกรรม (32.6 % และ 27.9%) ได้รับการศึกษาต่ำกว่าประถมศึกษาหรือประถมศึกษา (46.5%) ใช้วิธีการรับประทานยาเกินขนาดมากที่สุด (39.5%) มีสาเหตุกระตุ้นจาก ปัญหาน้อยใจคนใกล้ชิดที่ดุด่า (48.8%) และปัญหาทะเลาะกับคนใกล้ชิด (30.2%) โดยมีลักษณะของเหตุกระตุ้นเนื่องจากมีปัญหาชีวิตสะสมมานาน และจนถึงขีดสุด (51.2%) กลุ่มที่ศึกษามีโรคประจำตัว (18.7) ได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และปวดข้อเข้า/ปวดหลังเรื้อรัง (50.0%, 37.5%, และ 12.5%)  มีภาวะซึมเศร้า (46.5%)  พักอาศัยร่วมกับบุคคลที่ติดสุรา (37.2%) และติดสารเสพติด (4.7%) ความต้องการช่วยเหลือของผู้ทำร้ายตนเอง ที่ควรได้รับการช่วยเหลือเพิ่มเติมมากที่สุด คือสุขภาพจิต (34.9%) รองลงมาคือ ความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิน (30.2%) และเศรษฐกิจ (23.3%) ปัจจัยเสี่ยงต่อการทำร้ายตนเอง ได้แก่ การมีภาวะซึมเศร้ามากกว่า 6 อาการขึ้นไป 14.3 เท่า (95 %C.I. เท่ากับ 0.02 ถึง 0.26) ปัญหาทะเลาะ ขัดแย้งกับคนใกล้ชิด 7.3 เท่า (95% C.I. เท่ากับ 0.05 ถึง 0.26) อาศัยร่วมกับคนดื่มสุรา 7.3 เท่า (95% C.I เท่ากับ 0.04 ถึง 0.48) และ ดื่มสุรา 5.2 เท่า (95% C.I เท่ากับ 0.06 ถึง) ปัจจัยปกป้องการทำร้ายตนเองได้แก่ การยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงในการดำรงชีวิต 9 เท่า (95% C.I เท่ากับ 2.54 ถึง 31.79) เท่าของกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05

ข้อเสนอแนะ ควรมีการคัดกรองของกลุ่มเสี่ยงต่อการทำร้ายตนเองโดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า ส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีกับคนในครอบครัวและคนใกล้ชิด ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงในการดำรงชีวิตตลอดจนสนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนให้มากยิ่งขึ้น

คำสำคัญ : ปัจจัยเสี่ยง ปัจจัยปกป้อง การทำร้ายตนเอง

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2012-09-05

How to Cite

1.
พัฒนะวาณิชนันท์ ณ, เกษสมบูรณ์ ป, ศิริวัฒนา ร. ปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยปกป้องในการทำร้ายตนเอง. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2012 Sep. 5 [cited 2024 Dec. 23];23(3):61. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2534