ผลลัพธ์ของโปรแกรมการให้ข้อมูลและการออกกำลังกายที่บ้านสำหรับผู้ป่วยโรคเข่าเสื่อม

Authors

  • สุภาพ อารีเอื้อ
  • นภาภรณ์ ปิยขจรโรจน์

Abstract

การวิจัยเชิงทดลองแบบ one group pre posttest design  ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโปรแกรมการให้ข้อมูลและการออกกำลังกายที่บ้านสำหรับผู้ป่วยโรคเข่าเสื่อมต่อความรู้เกี่ยวกับโรคเข่าเสื่อม ความมั่นใจในความสามารถของตนเอง การปฏิบัติเพื่อป้องกัน/ลดความรุนแรงของโรคเข่าเสื่อม และผลลัพธ์ด้านสุขภาพ (ความปวด อาการข้อ ฝืด/ขัด ข้อจำกัดความสามารถทางกาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขา และพิสัยการเคลื่อนไหวข้อเข่า) กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 104 ราย คัดเลือกจากผู้ที่มีอาการของโรคเข่าเสื่อมซึ่งเป็นบุคลากรของโรงพยาบาลรามาธิบดีและ/หรือผู้ป่วยที่มิสิทธิในการเบิกค่ารักษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างจะได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลด้านสุขภาพ 3 ครั้ง และ โปรแกรมการบริหารกล้ามเนื้อต้นขาด้วยตนเองที่บ้านโดยปฏิบัติสัปดาห์ละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 12 สัปดาห์ เก็บข้อมูลก่อนและหลังได้รับโปรแกรมในสัปดาห์ที่ 2,8, และ 12 เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1)แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับโรคเข่าเสื่อม3)แบบประเมินความมั่นใจในความสามารถของตนเอง 4) แบบประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติตัว 5) แบบประเมินความรุนแรงของโรคเข่าเสื่อม 6)เครื่องมือวัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและ 7) เครื่องวัดพิสัยการเคลื่อนไหวข้อเข่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ

ผลการศึกษาพบว่า หลังได้รับโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคเข่าเสื่อมความมั่นใจในความสามารถของตนเอง การปฏิบัติเพื่อป้องกัน/ ลดความรุนแรงของโรคเข่าเสื่อมและผลลัพธ์ด้านสุขภาพดีขึ้น

ข้อเสนอแนะจากการศึกษานี้คือ บุคลากรด้านสุขภาพสามารถนำโปรแกรมนี้ไปใช้ในการป้องกันและจัดการกับอาการในผู้ป่วยโรคเข่าเสื่อม

คำสำคัญ : โรคเข่าเสื่อม โปรแกรมการให้ข้อมูล การบริหารกล้ามเนื้อต้นขา

Downloads

Published

2012-09-05

How to Cite

1.
อารีเอื้อ ส, ปิยขจรโรจน์ น. ผลลัพธ์ของโปรแกรมการให้ข้อมูลและการออกกำลังกายที่บ้านสำหรับผู้ป่วยโรคเข่าเสื่อม. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2012 Sep. 5 [cited 2024 Apr. 20];23(3):72. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2535