การประเมินสมรรถนะด้านการสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลระดับปริญญาตรี
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสมรรถนะด้านการสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลบัณฑิตตามการรับรู้ของนักศึกษาและอาจารย์ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 4 ที่กำลังศึกษาในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2549 ใน 10 สถาบันจำนวน 508 คน และอาจารย์หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตที่สอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติจำนวน 257 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ครอบคลุม สมรรถนะ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านคุณลักษณะส่วนบุคคลในการสร้างเสริมสุขภาพ ด้านการปฏิบัติกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ด้านการบริหารจัดการในการสร้างเสริมสุขภาพด้านการพัฒนาภาคีเครือข่ายการสร้างเสริมสุขภาพ และด้านการวิจัยและการจัดการความรู้ มี มีสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) เท่ากับ 0.96เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการตอบแบบสอบถามจากการสุ่มแบบง่าย ร้อยละ 50 ของประชากรในแต่ละสถาบัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทีแบบอิสระ (independent t-test)
ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาและอาจารย์ประเมินสมรรถนะด้านการสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาระดับปริญญาตรีโดยรวมมีค่าเฉลี่ย 3.50 และ 3.38 ตามลำดับ และนักศึกษาประเมินสมรรถนะรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.13 - 3.69 ค่าเฉลี่ยของอาจารย์อยู่ระหว่าง 2.72-3.65 การประเมินของอาจารย์และนักศึกษามีความแตกต่างกัน ( p < 05) ในสมรรถนะโดยรวมและรายด้าน ในเรื่องการบริหารจัดการในการสร้างเสริมสุขภาพการพัฒนาภาคีเครือข่ายการสร้างสุขภาพ และการวิจัยและการจัดการความรู้
ผลการวิจัยเสนอแนะให้สถาบันการศึกษาควรกำหนดสมรรถนะให้เหมาะสมกับระดับกากรศึกษา และความต้องการของผู้ใช้บัณทิต รวมทั้งควรให้นักศึกษารับทราบความคาดหวังของหลักสูตร เพื่อพัฒนาให้นักศึกษามีสมรรถนะที่ตรงความต้องการมากที่สุด
คำสำคัญ : การประเมินสมรรถนะด้านการส่งเสริมสุขภาพ นักศึกษาพยาบาลระดับปริญญาตรี