ผลของโปรแกรมการสร้างพลังในตนเองต่อภาวะสุขภาพและความพึงพอใจในการบริการสุขภาพของผู้หญิงที่มีความดันโลหิตสูง
Abstract
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการสร้างพลังในตนเองต่อภาวะสุขภาพและความพึงพอใจในบริการการดูแลสุขภาพของผู้หญิงที่มีภาวะความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ ที่รับการรักษาที่โรงพยาบาลปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา โดยกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 76 ราย คัดเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนดและสุ่มเข้ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองจำนวนเท่ากัน การวิจัยนี้ใช้ Feminist Perspective เป็นกรอบแนวคิดในงานวิจัย ใช้ระยะเวลา 8 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล แบบสอบถามความพึงพอใจในบริการสุขภาพ และแบบวัดภาวะสุขภาพ (ระดับความดันโลหิต ขนาดเส้นรอบเอง และระดับไขมันโคเลสเตอรอล) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Paired t-test และ Wilcoxon sined rank test Independent t-test และ Mann-Whitney U test
ก่อนเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองไม่มีความแตกต่างกัน ทั้งในด้านภาวะสุขภาพและความพึงพอใจในบริการสุขภาพ แต่เมื่อครบ 8 สัปดาห์ พบว่า กลุ่มทดลองมีภาวะสุขภาพดีกว่าและมีความพึงพอใจในบริการสุขภาพสูงกว่าทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)
ข้อเสนอแนะ ควรนำโปรแกรมนี้ไปขยายผลโดยนำไปทดลองใช้ในผู้หญิงที่มีภาวะความดันโลหิตของโรงพยาบาลอื่นๆ หรือเปรียบเทียบผลกับผู้ชายที่มีความดันโลหิตสูง
คำสำคัญ : โปรแกรมการสร้างพลังตนเอง ภาวะสุขภาพ ความพึงพอใจในบริการสุขภาพหญิงที่มีความดันโลหิตสูง