การจัดการอาการของผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง : ผู้สูงอายุมีสมรรถนะต่างจากผู้ใหญ่หรือไม่?
Abstract
การศึกษานี้เปรียบเทียบระดับสมรรถนะและความเหมาะสมในการจัดการอาการของผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรังวัยสูงอายุกับผู้ใหญ่ เก็บรวบรวมข้อมูลครั้งเดียวจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 301 รายเป็นผู้สูงอายุ 199 ราย และผู้ใหญ่ 102 ราย ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีภาวะหัวใจล้มเหลวมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 เดือน มารักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ 2 แห่ง และโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ 1 แห่ง ในภาคใต้เครื่องมือรวบรวมข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์การจัดการอาการของผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว มี 6 เครื่องมือรวบรวมข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์การจัดการอาการของผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว มี 6 ข้อคำถาม ซึ่งเครื่องมือนี้เป็นส่วนย่อยของแบบสัมภาษณ์ความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t -test และ Chi-square เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะและความเหมาะสมในการจัดการอาการ
ผลการศึกษา พบว่าผู้ป่วยทั้งสองมีสมรรถนะการจัดการอาการโดยรวมในระดับต่ำ (เฉลี่ย 44.57 +15.55 จาก 100 คะนน) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าผู้สูงอายุมีสมรรถนะดีกว่าในด้านการรับประทานยาลดบวมเพิ่มจากขนาดที่แพทย์สั่งให้ (เฉลี่ย 33.67+19.22 กับ 28.92+13.04, t = -2.24, p< 0.05) ผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มมีร้อยละ 5.3 เท่านั้น ที่จัดการอาการได้เหมาะสม ระดับสมรรถนะและความเหมาะสมในการจัดการอาการโดยรวมของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน ระดับสมรรถนะและความเหมาะสมในการจัดการอาการโดยรวมของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามผู้ป่วยวัยสูงอายุมีอัตราการจัดการอาการได้เหมาะสมน้อยกว่าผู้ใหญ่ในด้านความเร็วในการประเมินอาการที่เกิดขึ้นจนตัดสินได้ว่าเกิดจากหัวใจล้มเหลว (ร้อยละ 17.6 กับ 27.5, X2=3.96, p < 0.05) และการประเมินประสิทธิผลของวิธีการต่างๆ ที่ใช้ในการบรรเทาอาการ (ร้อยละ 17.1 กับ 31.4,X2= 8.04, p < 0.01)
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวทั้งวัยสูงอายุและวัยผู้ใหญ่ต้องการการส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการอาการ โดยในผู้สูงอายุจะต้องเน้นที่การเฝ้าติดตามการเปลี่ยนแปลงของอาการ และการแยกแยะอาการที่สัมพันธ์กับหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง
คำสำคัญ : หัวใจล้มเหลว การจัดการอาการ ผู้สูงอายุ