การดูแลด้านจิตวิญญาณในผู้ป่วยเรื้อรัง : ประสบการณ์ของพยาบาลวิชาชีพ

Authors

  • ระวีวรรณ พิไลยเกียรติ
  • จินตนา ฤทารมย์
  • ธัญชนก บุตรจันทร์

Abstract

การดูแลด้านจิตวิญญาณของผู้ป่วยเรื้อรังเป็นมิติหนึ่งทางสุขภาพที่พยาบาลวิชาชีพเป็นผู้มีบทบาทสำคัญยิ่ง การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การดูแลด้านจิตวิญญาณ ในผู้ป่วยเรื้อรังของพยาบาลวิชาชีพ ผู้ให้ข้อมูลหลักคือพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยอายุรกรรมสามัญโรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานครแห่งหนึ่ง จำนวน 7 ราย ทำการรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ.2549 ถึง เมษายน พ.ศ.2550 โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยสรุปประสบการณ์การดูแลด้านจิตวิญญาณในผู้ป่วยเรื้อรังของพยาบาลวิชาชีพเป็น 4 ประเด็นหลักคือ 1)ความหมายของการดูแลด้านจิตวิญญาณ ผู้ให้ข้อมูลกล่าวคือ การดูแลตามความเชื่อและหลักศาสนา การดูแลด้วยใจ การดูแลด้วยความเมตตา การดูแลด้วยความนุ่นนวลให้เกียรติ และการดูแลผู้ป่วยดุจญาติ 2)ความสำคัญของการดูแลด้านจิตวิญญาณ ได้แก่ เป็นแหล่งของกำลังใจ เป็นที่พึ่งและยึดเหนี่ยวทางใจก่อให้เกิดความสุข เสริมสร้างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้ป่วย และทำให้ผู้ป่วยยอมรับสภาพของตนเองได้ 3) แนวปฏิบัติการดูแลด้านจิตวิญญาณในผู้ป่วยเรื้อรัง มี 5 แนวทางได้แก่ ประเมินเกี่ยวกับความเชื่อและการนับถือศาสนา เปิดโอกาสให้ประกอบพิธีกรรมตามศาสนาเชื่อและหลักศาสนา อำนวยความสะดวกในการประกอบพิธีกรรมตามหลักศาสนาพูดคุยให้กำลังใจ และให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย และ 4)ปัจจัยที่มีผลต่อการดูแลด้านจิตวิญญาณ จำแนกเป็นด้านพยาบาลวิชาชีพได้แก่ ความตะหนักของพยาบาลประสบการณ์ของพยาบาล ความสุขในการทำงานของพยาบาล การทำงานเป็นทีม แบบอย่างของพยาบาลรุ่นพี่ และภาวะงานของพยาบาล และด้านผู้ป่วยได้แก่ ความเชื่อถือไว้วางใจและความพึงพอใจของผู้ป่วย

คำสำคัญ : การดูแลด้านจิตวิญญาณ ประสบการณ์ของพยาบาลวิชาชีพ ผู้ป่วยเรื้อรัง

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2012-09-06

How to Cite

1.
พิไลยเกียรติ ร, ฤทารมย์ จ, บุตรจันทร์ ธ. การดูแลด้านจิตวิญญาณในผู้ป่วยเรื้อรัง : ประสบการณ์ของพยาบาลวิชาชีพ. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2012 Sep. 6 [cited 2024 Nov. 23];24(1):62. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2555