ศักยภาพและความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการผลิตพยาบาลของชุมชน

Authors

  • ขนิษฐา นันทบุตร
  • วิลาวัณย์ เสนารัตน์
  • พีรพงษ์ บุญสวัสดิ์กุลชัย
  • สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ
  • ปนัดดา ปริยฑฤฆ
  • ศรีสุดา รัศมีพงศ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพและความพร้อมขององค์ปกครองส่วนท้องถิ่นในการสนับสนุนและร่วมสร้างพยาบาลของชุมชนโดยชุมชนเพื่อชุมชน และวิเคราะห์ความเป็นไปได้ขององค์กรสามประสาน ได้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาลชุมชน และสถาบันการศึกษาพยาบาล ในการสนับสนุนการผลิตพยาบาลของชุมชนฯ โดยใช้การวิจัยเชิงบรรยาย (descriptive research) จากการสำรวจผู้บริหารหรือผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ทั่วประเทศ 3,148 แห่ง และการประชุมปรึกษาหารือของสถาบันการศึกษาพยาบาลจำนวน 28 สถาบันกับผู้บริหารหรือผู้แทนจากโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 152 แห่ง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ที่สถาบันการศึกษาทำการสำรวจ จำนวน 247 แห่ง

ผลการศึกษาแสดง 3 ส่วน คือ 1) ศักยภาพและความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการสนับสนุนและร่วมผลิตพยาบาลของชุมชนฯ พบว่า โดยส่วนใหญ่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ศึกษา ประมาณครึ่งหนึ่งที่มีความต้องการที่ส่งคนในพื้นที่ไปโรงพยาบาลวิชาชีพ คือ ร้อยละ 52.9 โดยสนับสนุนการศึกษา ร้อยละ 31.3 พร้อมให้การสนับสนุนในปี พ.ศ.2552 ร้อยละ 37.8 และความพร้อมจ้างงานพยาบาลร้อยละ 26.5  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความต้องการส่งคนไปเรียนในสัดส่วนค่อนข้างมกเมื่อเทียบกับภาคอื่นๆ (ร้อยละ 58.3 และ ร้อยละ 56.7 ตามลำดับ) ส่วนภาคตะวันออกมีความพร้อมในการสนับสนุนทุนการศึกษาและการจ้างงานค่อนข้างมากกว่าภาคอื่นๆ (ร้อยละ 40.6 และร้อยละ 37.8 ตามลำดับ) อย่างไรก็ตามองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ขนาดใหญ่ และเทศบาลตำบล มีความพร้อมในการสนับสนุนการศึกษาค่อนข้างมาก 2) ความเป็นไปได้ในการสนับสนุนและร่วมสร้างพยาบาลของชุมชน ฯ พบว่า องค์กรสามประสาน ในแต่ละพื้นที่ มีการจัดทำข้อตกความร่วมมือในการผลิตพยาบาลของชุมชนฯ ในปีการศึกษา 2551 จำนวนทั้งสิ้น 300 คน โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ร่วมลงนาม 247 แห่ง โรงพยาบาลชุมชน 152 แห่ง และสถาบันการศึกษา 24 แห่งที่สังกัดทั้งภาครัฐและภาคเอกชน 3) สถานการณ์ การดำเนินงานในแผนงานการสร้างพยาบาลของชุมชนฯ ความต้องการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งคนในพื้นที่มาเรียน มี 1,666 แห่ง โดยระบุจำนวนที่ต้องการส่งเรียน 1,169 คน และสถาบันการศึกษาพยาบาลฯ ในเครือข่าย สามารถรับนักศึกษาได้ประมาณ 300 คน จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 247 แห่ง

 

ข้อเสนอแนะ การประชุมหารือในแต่ละพื้นที่องค์กรสามประสาน (องค์ปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาลชุมชน และสถาบันการศึกษาพยาบาล) ส่งผลให้ทุกฝ่ายได้เรียนรู้แนวคิด กระบวน วิธีการ พร้อมทั้งบทบาท หน้าที่ของตนในการสนับสนุนและร่วมสร้างพยาบาลของชุมชนฯ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านนโยบาย ได้แก่ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ควรหาแนวทางหรือกลไกที่เอื้อต่อการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการสร้างพยาบาลของชุมชนฯ อันนำไปสู่การความเข้มแข็งให้ระบบสุขภาพชุมชนที่เป็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการสร้างพยาบาลของชุมชนฯ อันนำไปสู่การความเข้มแข็งให้ระบบสุขภาพที่เป็นของภาคประชาชนได้อย่างแท้จริง

คำสำคัญ : ศักยภาพ ความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พยาบาลของชุมชน

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2012-09-07

How to Cite

1.
นันทบุตร ข, เสนารัตน์ ว, บุญสวัสดิ์กุลชัย พ, จันทร์ประเสริฐ ส, ปริยฑฤฆ ป, รัศมีพงศ์ ศ. ศักยภาพและความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการผลิตพยาบาลของชุมชน. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2012 Sep. 7 [cited 2024 Nov. 25];24(2):100. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2569