ประสบการณ์การทำงานของพยาลพี่เลี้ยงในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ
Abstract
การใช้ระบบพยาบาลพี่เลี้ยงเป็นวิธีการสำคัญที่โรงพยาบาลรัฐบาลหลายแห่งในประเทศไทยนำมาใช้ในการเตรียมพยาบาลใหม่เพื่อให้เข้าสู้บทบาทการเป็นพยาบาลวิชาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การทำงานของพยาบาลพี่เลี้ยงโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลคือพยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์เป็นพยาบาลพี่เลี่ยง จำนวน 16 คน เก็บข้อมูล โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกร่วมกับการบันทึกเทป การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม และการรวบรวมเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหา ด้วยการให้รหัสและการเปรียบเทียบข้อมูลผลการวิจัยพบว่า การทำงานของพยาบาลพี่เลี้ยง ประกอบด้วย 6 หมวดหมู่ คือ 1) ได้รับมอบหมายให้เป็นพี่เลี้ยง 2) เตรียมการเป็นพี่เลี้ยง 3) สร้างความคุ้นเคย 4) แสดงบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยง 5) ทบทวนการทำงาน และ 6)สิ้นสุดการเป็นพี่เลี้ยง
การทำงานของพี่เลี้ยง เริ่มต้นจากการได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหอผู้ป่วยให้ดูแลพยาบาลจบใหม่ โดยพยาบาลบางส่วนได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติบทบาทพี่เลี่ยงทันที ในขณะที่พยาบาลบางส่วนได้รับมอบหมายล่วงหน้า จึงมีเวลาในการเตรียมการเป็นพยาบาลพี่เลี้ยงและมีการสร้างความคุ้นเคยก่อนทำงานร่วมกัน พยาบาลพี่เลี้ยงใช้วิธีการทบทวนการทำบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยงของตนเองเพื่อปรับปรุงและพัฒนาบทบาทของตนเอง การทำงานของพยาบาลพี่เลี้ยงเป็นประสบการณ์ทั้งด้านบวกและด้านลบ
จากผลการศึกษาผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่าควรมีการจัดระบบสนับสนุนจากาผู้บริหารทางการพยาบาลอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อสร้างความเข็มแข็งแก่ระบบพยาบาลพี่เลี้ยง
คำสำคัญ : พยาบาลพี่เลี้ยง พยาบาลวิชาชีพ พยาบาลจบใหม่