ประสบการณ์ของผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยเอดส์มุสลิมระยะสุดท้าย

Authors

  • สุไฮดาร์ แวเตะ
  • กิตติกร นิลมานัต
  • ประณีต ส่งวัฒนา

Abstract

การศึกษาเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายและอภิบายประสบการณ์ของผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยเอดส์มุสลิมระยะสุดท้าย ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ดูแลหลัก ที่รับรู้ว่าผู้ป่วยเป็นโรคเอดส์และอยู่ระยะสุดท้าย และให้การดูแลผู้ป่วยเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน จำนวน 10  ราย โดยการสัมภาษณ์เจาะลึกและการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้หลักการวิเคราะห์ของแวน มาแน

ผลการศึกษา พบว่า ผู้ดูแลให้ความหมายของการดูแลผู้ป่วยเอดส์มุสลิมระยะสุดท้ายใน 4 ลักษณะ คือ 1) การทำทุกสิ่งเพื่อให้ชีวิตที่ยืนยาวขึ้น 2) การทำอย่างดีที่สุดเพื่อให้ใช้ชีวิตในช่วงสุดท้ายอย่างมีความสุข 3) การดูแลกายใจอย่างใกล้ชิดเหมือนดูแลเด็ก และ 4) การดูแลให้อยู่อย่างมีคุณค่าเหมือนคนปกติ สำหรับการดูแลผู้ป่วยเอดส์มุสลิมระยะสุดท้ายของผู้ดูแลแบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ 1) การดูแลระยะใกล้ตาย ประกอบด้วย ให้ร่างกายสะอาดและสุขสบาย ให้กินอาหารเพียงพอทุกมื้อ ให้กินยาตามหมอสั่งไม่ให้ขาดบรรเทาอาการผู้ป่วยไม่ให้ทรมาน อยู่เคียงข้างไม่ห่างกาย เอาอกเอาใจไม่รังเกียจ การอยู่กับพระเจ้า และการป้องกันการติดเชื้อจากการดูแล 2)การดูแลระยะก่อนสิ้นใจ ประกอบด้วย ให้อยู่ท่ามกลางบุคคลอันเป็นที่รัก การสะสางภารกิจ การขอมาอาฟ (ขอโทษ) และให้ได้รำลีกถึงพระเจ้าก่อนหมดลมหายใจ และ 3) การดูแลระยะหลังความตาม ประกอบด้วย อ่านอัลกุรอาน และไว้ทุกข์ ทำบุญให้ผู้ตาย

ผู้ดูแลได้รับผลกระทบจากากรดูแลทั้งด้านลบและด้านบวก ดังนี้ ผลกระทบด้านลบมี 5 ลักษณะ คือ 1) พักผ่อนไม่เพียงพอ ร่างกายทรุดโทรม 2)ทุกข์ทรมานทางอารมณ์ได้แก่ เครียด วิตกกังวล ท้อแท้ น้อยใจ และอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย 3)สูญเสียรายได้ มีหนี้สิ้น 4)แยกตัวจากสังคม และ 5) ไม่ได้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาตามปกติ ส่วนผลกระทบด้านบวก มี 2 ลักษณะ คือ 1) ภูมิใจที่ได้ดูแล และ 2) ได้รับประสบการณ์ที่ดี ผลการวิจัยครั้งนี้เป็นแนวทางในการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยเอดส์มุสลิมระยะสุดท้ายและครอบครัว

คำสำคัญ : ผู้ดูแล การดูแล มุสลิม เอดส์ระยะสุดท้าย

Downloads

Published

2012-09-07

How to Cite

1.
แวเตะ ส, นิลมานัต ก, ส่งวัฒนา ป. ประสบการณ์ของผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยเอดส์มุสลิมระยะสุดท้าย. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2012 Sep. 7 [cited 2024 Mar. 29];24(4):95. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2589