การดูแลด้านจิตวิญญาณของผู้ป่วยเรื้อรังที่พักรักษาในโรงพยาบาล

Authors

  • อวยพร ภัทรภักดีกุล
  • โสเพ็ญ ชูนวล
  • มัลลิกา สุนทรวิภาต

Abstract

การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาการรับรู้ของพยาบาลในการดูแลด้านจิตวิญญาณของผู้ป่วยเรื้อรังที่พักรักษาในโรงพยาบาล 2) เปรียบเทียบการรับรู้ของผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลด้านจิตวิญญาณจากพยาบาลระหว่างโรงพยาบาลในภาคใต้ของประเทศไทย 3) เปรียบเทียบการรับรู้การให้การดูแลด้านจิตวิญญาณของพยาบาลกับการรับรู้การดูแลด้านจิตวิญญาณที่ผู้ป่วยได้รับจริง กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลวิชาชีพจำนวน 505 คน ผู้ป่วย 373 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามการรับรู้การให้การดูแลด้านจิตวิญญาณของพยาบาลและการรับรู้การได้รับการดูแลด้านจิตวิญญาณของผู้ป่วยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ตรวจสอบความตรงด้านเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 6 ท่าน มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 และ 0.86 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบค่าที

ผลการวิจัยพบว่าการรับรู้การให้การดูแลด้านจิตวิญญาณของพยาบาลโดยรวมอยู่ในระดับมาก ผู้ป่วยที่มาใช้โรงพยาบาลในระดับบริการต่างกันได้รับการดูแลด้านจิตวิญญาณแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และการรับรู้การให้การดูแลด้านจิตวิญญาณของพยาบาลมากกว่าการรับรู้การดูแลด้านจิตวิญญาณที่ผู้ป่วยได้รับจริง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ควรมีการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลด้านจิตวิญญาณ ผู้บริหารควรพิจารณาด้านอัตรากำลังให้เหมาะสมกับภาระงานตามบริบทของแต่ละโรงพยาบาล พัฒนาทักษะของพยาบาลโดยการส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และควรให้ความสำคัญกับการให้ดูแลด้านจิตวิญญาณแก่ผู้ป่วย

คำสำคัญ : การดูแลด้านจิตวิญญาณ การได้รับการดูแลด้านจิตวิญญาณ ผู้ป่วยเรื้อรัง

Downloads

How to Cite

1.
ภัทรภักดีกุล อ, ชูนวล โ, สุนทรวิภาต ม. การดูแลด้านจิตวิญญาณของผู้ป่วยเรื้อรังที่พักรักษาในโรงพยาบาล. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2012 Sep. 8 [cited 2024 Mar. 29];25(1):100. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2601