ผลของการนวดแบบกดจุดสะท้อนฝ่าเท้ากับการใช้เครื่องบีบไล่เลือดเป็นจังหวะต่อความเร็วในการไหลเวียนกลับของเลือดดำที่ตำแหน่งขาหนีบในผู้ป่วยวิกฤต

Authors

  • สุพัตรา อุปนิสากร
  • ประณีต ส่งวัฒนา
  • วิภา แซ่เซี้ย

Abstract

การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบข้ามกลุ่ม (crossover design) เพื่อเปรียบเทียบความเร็วในการไหลเวียนกลับของเลือดดำที่ขาหนีบระหว่างการนวดแบบกดจุดสะท้อนฝ่าเท้ากับการใช้เครื่องบีบไล่เลือดเป็นจังหวะ (Intermittent Pneumatic Calf Compression : IPC) ในผู้ป่วยวิกฤตที่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 32 ราย ได้รับทั้งการนวดแบบกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า 30 และใช้เครื่อง IPC วัดความเร็วในการไหลเวียนกลับของเลือดดำที่ขาหนีบ ระยะเวลาที่สามารถคงความเร็วในการไหลเวียนกลับของเลือดดำสูงสุดและระยะเวลาที่ความเร็วในการไหลเวียนกลับของเลือดดำที่ขาหนีบกลับสู่ค่าเดิม ด้วยเครื่องฟังเสียงสะท้อนการไหลของเลือด หาค่าดัชนีความสัมพันธ์ของการวัด 2 ครั้งของการวัดความเร็วในการไหลเวียนของเลือดดำของเครื่องฟังเสียงสะท้อนการไหลเวียนกลับของเลือดดำสูงสุดและระยะเวลาที่ความเร็วในการไหลเวียนกลับของเลือดดำที่ขาหนีบ ระยะเวลาที่สามารถคงความเร็วในการไหลเวียนกลับของเลือดดำสูงสุดและระยะเวลาที่ความเร็วในการไหลเวียนกลับของเลือดดำที่ขาหนีบกลับสู่ค่าเดิม ด้วยเครื่องผังเสียงสะท้อนการไหลของเลือด หาค่าดัชนีความสัมพันธ์ของการวัด 2 ครั้งของการวัดความเร็วในการไหลเวียนของเลือดดำของเครื่องฟังเสียงสะท้อนการไหลของเลือด (doppler) โดยวิธีการวัดซ้ำ (test-retest measured) ได้เท่ากับ .99 และ .91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงมาตรฐานและสถิติที (paired t-test)

ผลการวิจัยพบว่า ความเร็วเฉลี่ยในการไหลเวียนเลือดดำที่ขาหนีบภายหลังได้รับนวดแบบกดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า (X = 2.39 S.S= 0.69) มากกว่าภายหลังการใช้เครื่องบีบไล่เลือดเป็นจังหวะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (X = 2.21 S.D. = 0.67) ( p < .001) ระยะเวลาที่สามารถคงความเร็วในการไหลเวียนกลับของเลือดดำสูงสุดภายหลังได้รับการนวดแบบกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า (X = 3.60 S.D. = 0.40)  มากกว่าภายหลังการใช้เครื่องบีบไล่เลือดเป็นจังหวะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (X = 3.60 S.D. = 0.39) ( p < .001) ระยะเวลาที่ความเร็วในการไหลเวียนกลับของเลือดดำกลับสู่ค่าเดิมภายหลังได้รับการนวดแบบกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า (X = 3.51 S.D.= 0.37) ไม่แตกต่างจากภายหลังการใช้เครื่องบีบไล่เลือดเป็นจังหวะ (X = 3.41 S.D.= 0.31) ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือด โดยเฉพาะผู้ป่วยที่นอนบนเตียงเป็นเวลานาน หรือไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายตนเองได้

คำสำคัญ : การนวดแบบกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า เครื่องบีบไล่เลือดเป็นจังหวะ ความเร็วในการไหลเวียนของเลือดดำ ผู้ป่วยวิกฤต

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2012-09-08

How to Cite

1.
อุปนิสากร ส, ส่งวัฒนา ป, แซ่เซี้ย ว. ผลของการนวดแบบกดจุดสะท้อนฝ่าเท้ากับการใช้เครื่องบีบไล่เลือดเป็นจังหวะต่อความเร็วในการไหลเวียนกลับของเลือดดำที่ตำแหน่งขาหนีบในผู้ป่วยวิกฤต. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2012 Sep. 8 [cited 2024 Dec. 23];25(2):28. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2607