ผลของการให้คำปรึกษาตามแนวคิดการปรับความคดิ และพฤตกิ รรมแบบกลมุ่ ต่ออาการซึมเศร้าและพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตในผู้ป่วย โรคเรื้อรังที่มีโรคซึมเศร้าร่วม
Abstract
การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เปรียบเทียบอาการซึมเศร้าและพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิต ของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีโรคซึมเศร้าร่วม ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาตามแนวคิดการปรับความคิดและพฤติกรรมแบบกลุ่ม และเปรียบเทียบอาการซึมเศร้าและพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีโรคซึมเศร้าร่วม ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีโรคซึมเศร้าร่วมด้วยจำนวน30 ราย โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 15 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ โปรแกรมการให้คำปรึกษาตามแนวคิดการปรับความคิดและพฤติกรรมแบบกลุ่ม ที่พัฒนาโดย ปทุมรัตน์ เกตุเล็ก แบบประเมินอาการซึมเศร้า และแบบวัดพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิต ซึ่งได้ตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และหาค่าความเที่ยงของแบบวัด เท่ากับ.84 และ.94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบที (t-test)
ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มทดลองมีอาการซึมเศร้าต่ำกว่าก่อนทดลองและมีพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) และกลุ่มทดลองมีอาการซึมเศร้าต่ำกว่ากลุ่มควบคุมและมีพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p<.05 )
ควรมีการนำโปรแกรมการให้คำปรึกษาตามแนวคิดการปรับความคิดและพฤติกรรมแบบกลุ่มไปใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีโรคซึมเศร้าร่วมโดยเริ่มจากการศึกษาแนวการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม การบำบัดพฤติกรรมและความคิดรวมทั้งควรจัดฝึกอบรมให้กับพยาบาลที่จะใช้โปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มนี้เมื่อนำไปใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
คำสำคัญ: การให้คำปรึกษาตามแนวคิดการปรับความคิดและพฤติกรรมแบบกลุ่มอาการซึมเศร้า พฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิต ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีโรคซึมเศร้าร่วม