ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดเชียงราย

Authors

  • ฉันทนา แรงสิงห์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดเชียงราย สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จำนวน 414 คน โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามรูปแบบการอบรมเลี้ยงดู แบบสอบถามการทำหน้าที่ของครอบครัว แบบประเมินความผูกพันใกล้ชิดกับเพื่อน แบบประเมินการรับรู้การมีคุณค่าในตนเอง และแบบประเมินภาวะซึมเศร้ามีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟา ครอนบาค เท่ากับ 0.79, 0.80, 0.85, 0.76 และ0.81 ตามลำดับ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามด้วยตนเองการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา หาความสัมพันธ์ของตัวแปรปัจจัยที่เกี่ยวข้องและวิเคราะห์หาปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้า

ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 69.3 (ระดับเล็กน้อย ร้อยละ17.9 ระดับปานกลาง ร้อยละ 21.9 และระดับรุนแรง ร้อยละ 29.5) ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการทำหน้าที่ของครอบครัว (r=-0.235, p < 0.001) นอกจากนี้การรับรู้การมีคุณค่าในตนเอง (r=-0.350, p < 0.001) รูปแบบการอบรมเลี้ยงดู (p < 0.05) และผลการเรียนรวมเฉลี่ย (GPAX) (r=-0.770, p < 0.001) สามารถร่วมทำนายภาวะซึมเศร้าได้ร้อยละ 23.3

ข้อเสนอแนะ คณาจารย์ที่เกี่ยวข้องและผู้ปกครองควรตระหนักในการส่งเสริมนักเรียนระดับมัธยมศึกษาให้มีการรับรู้การมีคุณค่าในตนเอง อบรมเลี้ยงดูบุตรแบบประชาธิปไตยและการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะซึมเศร้า นอกจากนี้คณาจารย์และผู้ปกครองควรประเมิน/คัดกรองภาวะซึมเศร้าอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อให้การช่วยเหลืออย่างเหมาะสม ทันท่วงทีและป้องกันการทำร้ายตนเอง/ฆ่าตัวตายที่อาจเกิดขึ้น

คำสำคัญ: การทำหน้าที่ของครอบครัว การรับรู้คุณค่าในตนเอง รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูภาวะซึมเศร้า วัยรุ่น

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2012-09-13

How to Cite

1.
แรงสิงห์ ฉ. ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดเชียงราย. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2012 Sep. 13 [cited 2024 Dec. 23];26(2):42. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2674