ความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารของมารดากับบุตรสาวเกี่ยวกับความเสี่ยงทางเพศ และทัศนคติของมารดาต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน กับความสามารถของตนในการ ปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นหญิง

Authors

  • รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์
  • พรนภา หอมสินธุ์

Keywords:

การสื่อสารเรื่องเพศของมารดา ทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน ความสามารถของตนในการปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์ วัยรุ่นหญิง. husband-assisted programme, first stage of labour, stress, pain, labour-related satisfaction

Abstract

บทคัดย่อ:  วัตถุประสงค์ของการวิจัย : เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารของมารดาและ

บุตรเกี่ยวกับความเสี่ยงทางเพศ  ความสะดวกใจในการสื่อสารเรื่องเพศ และการรับรู้ทัศนคติของมารดาต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน กับการรับรู้ความสามารถในการปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นหญิง

การออกแบบการวิจัย:  การวิจัยเชิงความสัมพันธ์ (Correlational research)

การดำเนินการวิจัย:   กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนหญิงอายุระหว่าง 15-18ปี  จำนวน 550 คน ที่

กำลังศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายและวิทยาลัยอาชีวศึกษาของรัฐบาล ในจังหวัดชลบุรี    เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ตอบด้วยตนเอง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามการสื่อสารของบิดามารดากับบุตรวัยรุ่นเกี่ยวกับความเสี่ยงทางเพศ  ความสะดวกใจในการสื่อสารเรื่องเพศ แบบสอบถามทัศนคติของมารดาต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน  แบบสอบถามการรับรู้ในความสามารถของตนในการปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์และแบบวัดประสบการณ์ทางเพศ   วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา  และสถิติถดถอยลอจิสติกส์แบบหลายตัวแปรร่วม (Multiple logistic regression)  

ผลการศึกษา พบว่า  กลุ่มตัวอย่างที่มารดามีทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงานเชิงลบมี

แนวโน้มที่จะมีการสื่อสารกับบุตรสาวน้อย (AOR = 1.4)  ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่รับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์ต่ำ มีแนวโน้มว่ามารดาจะไม่สะดวกใจในการสื่อสารเรื่องเพศกับบุตรสาว  (AOR = 1.7) 

ข้อเสนอแนะ:  การให้คำแนะนำแก่มารดาที่มีบุตรวัยรุ่นเกี่ยวกับเรื่องเพศ มีความจำเป็นอย่างมากที่จะช่วยส่งเสริมให้มารดามีการสื่อสารเรื่องเพศกับบุตรสาววัยรุ่นมากขึ้น 

Objective:

To examine how a husband-assisted programme applied to the first stage of labour would impact primigravidae’s labour-related stress, pain and satisfaction.

Design:

Quasi-experimental research.

Implementation:

The subjects, purposively sampled, consisted of 60 primigravidae who attended antenatal care and gave birth at a university hospital.  The subjects were then equally divided into a control group, to which normal care was given, and an experimental group, to which a husband-assisted programme for the first stage of labour was applied in addition to normal care.

The research instruments consisted of (i) a personal information form; (ii) a pain-assessment form; (iii) a pregnancy-labour information form; (iv) a stress evaluation form; (v) and a labour-related satisfaction form.  The data were statistically analysed according to frequency, percentage, mean, standard deviation, Chi-square and T-test.

Results:

The study found that the experimental group’s primigravidae displayed significantly lower degrees of stress and pain than their control-group counterparts (p < .001), and showed a significantly higher level of labour-related satisfaction than their control-group equivalents (p < .001).

Recommendations:

Nurses stationed in an antenatal care unit and delivery room are advised to apply this programme for the purposes of reducing their patients’ stress and pain and increasing their satisfaction with their first birth-giving experience.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2014-09-22

How to Cite

1.
ศรีสุริยเวศน์ ร, หอมสินธุ์ พ. ความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารของมารดากับบุตรสาวเกี่ยวกับความเสี่ยงทางเพศ และทัศนคติของมารดาต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน กับความสามารถของตนในการ ปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นหญิง. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2014 Sep. 22 [cited 2024 Nov. 24];29(3):31-4. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/27076