การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการเรียนรู้จดจำระหว่างผู้ที่เคยมี ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง และผู้มีภาวะสุขภาพดี

Authors

  • วิชชุดา เจริญกิจการ
  • สายพิณ เกษมกิจวัฒนา

Abstract

การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการเรียนนรู้จดจำหลัก 3 ด้าน (สมาธิ กระบวนการจำ และการเรียนรู้แ ละการจำ) ระหว่างกลุ่มตัวอย่าง3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ที่เคยมีสมองขาดเลือดชั่วคราว (TIA) กลุ่มผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง และกลุ่มผู้ที่มีภาวะสุขภาพปกติ กลุ่มตัวอย่างกลุ่มละ 52 ราย จากหอผู้ป่วยนอก สถาบันประสาทวิทยา โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลเลิดสิน และโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา ประเมินประสิทธิการเรียนรู้จดจำโดยใช้แบบทดสอบ Trial Making A,Digit Span Forward, Digit Span Backward, Digit Symbol Substitution, และ HopkinsVerbal Learning-revised วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว

ผลการวิจัยพบว่า ผู้ที่เคยมีภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง และผู้มีสุขภาพปกติ มีคะแนนเฉลี่ยของแบบทดสอบประสิทธิภาพการเรียนรู้จดจำทั้ง 3 ด้านหลักแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05) โดยผู้มีสุขภาพดี มีคะแนนเฉลี่ยของแบบทดสอบ Digit Span Forward, Digit Span Backward,Digit Symbol Substitution และ Hopkins Verbal Learning-revised สูงสุด รองลงมาเป็นผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง และผู้ที่เคยมีอาการสมองขาดเลือดชั่วคราวตามลำดับ ในขณะที่ผู้ป่วยสุขภาพดี มีคะแนนเฉลี่ยของแบบทดสอบ Trial Making A ต่ำสุดตามด้วยผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองและผู้ที่เคยมีอาการสมองขาดเลือดชั่วคราวตามลำดับ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าผู้ที่เคยมีภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวมีประสิทธิภาพการเรียนรู้จดจำทั้ง 3 ด้านหลักต่ำสุด ตามด้วยกลุ่มผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง และกลุ่มผู้ที่มีภาวะสุขภาพปกติตามลำดับ

ดังนั้นพยาบาลและบุคลากรในทีมสุขภาพควรตระหนักถึงประสิทธิภาพในการรับข้อมูลด้านสุขภาพของทั้งผู้ที่เคยมีภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว และกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงฯโดยส่งเสริมประสิทธิภาพการเรียนรู้จดจำและจัดหาวิธีการที่เหมาะสมในการช่วยให้บุคคลทั้ง 2 กลุ่ม สามารถรับข้อมูลสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คำสำคัญ: สมาธิ ประสิทธิภาพการเรียนรู้และจดจำ การเรียนรู้และความจำ ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวกระบวนการจำ

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2012-09-14

How to Cite

1.
เจริญกิจการ ว, เกษมกิจวัฒนา ส. การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการเรียนรู้จดจำระหว่างผู้ที่เคยมี ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง และผู้มีภาวะสุขภาพดี. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2012 Sep. 14 [cited 2024 Dec. 23];26(3):14. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2710