การบำบัดโดยการแก้ปัญหาในการลดอาการซึมเศร้าในวัยผู้ใหญ่: การพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบการบำบัดโดยการแก้ปัญหาในการลดอาการซึมเศร้าในวัยผู้ใหญ่จากหลักฐานเชิงประจักษ์ จากการสืบค้น พบหลักฐานเชิงประจักษ์ที่มีคุณภาพ จำนวนทั้งหมด 8 เรื่อง เป็นงาน meta-analysis 2 เรื่อง systematicreview 1 เรื่อง และ randomized controlled trial 5 เรื่อง นำหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ได้มาประเมินคุณภาพ 3 ด้านตามเกณฑ์การประเมินหลักฐานเชิงประจักษ์ของ Polit & Becks(2006) ได้แก่ ความสอดคล้องกับประเด็นปัญหา การมีความหมายในเชิงของศาสตร์แนวโน้มความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ในการปฏิบัติ รวมทั้งการประเมินระดับของหลักฐานเชิงประจักษ์ ตามระบบการจำแนกหลักฐานของ Melnyk & Fineout-Overholt (2005)พบว่าการบำบัดโดยการแก้ปัญหาในการลดอาการซึมเศร้าในวัยผู้ใหญ่ มี 2 รูปแบบหลัก คือSocial Problem Solving Therapy (SPST) และ Problem Solving Therapy–PrimaryCare (PST-PC) ซึ่งเมื่อพิจารณาขั้นตอนของทั้งสองรูปแบบพบว่ามีขั้นตอนคล้ายกันอาจแตกต่างกันบางกระบวนการเท่านั้น กล่าวคือใน SPST จะเน้นที่องค์ประกอบ 2 ส่วน คือ1) การรับรู้และการประเมินปัญหา และ 2) รูปแบบการแก้ปัญหา 4 ขั้นตอน ในขณะที่PST-PC จะเน้นในเรื่องการมองปัญหาที่เป็นปัจจุบันและกระบวนการในการแก้ปัญหาโดยไม่ลงลึกถึงการปรับความคิดความเชื่อเกี่ยวกับการรับรู้และการประเมินปัญหา และมีรูปแบบการแก้ปัญหา 6 ขั้นตอน โดยพบว่าการบำบัดทั้ง SPST และ PST-PC นั้นมีประสิทธิภาพในการลดอาการซึมเศร้าและสามารถใช้ได้ทั้งในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้า(major depressive disorder) โรคซึมเศร้าเรื้อรัง (dysthymia) และโรคซึมเศร้าที่มีอาการเล็กน้อย (minor depressive disorder) ทั้งนี้ก่อนนำข้อแนะนำไปใช้ควรมีการพัฒนาเป็นแนวปฏิบัติการพยาบาลและเลือกใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของหน่วยงานและประชากรเป้าหมาย
คำสำคัญ: การบำบัดโดยการแก้ปัญหา / โรคซึมเศร้า / อาการซึมเศร้า / วัยผู้ใหญ่ /การพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์