มุมมองการป่วยของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน
Abstract
โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่พบจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นมาอย่างต่อเนื่องการรณรงค์แก้ไขปัญหาด้วยวิธีการต่างๆ ยังได้ผลไม่ดีนัก ปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งคือการที่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีมุมมองและความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานและการเป็นโรครวมทั้งการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องบ้างไม่ถูกต้องบ้าง และมีความแตกต่างกับบุคลากรด้านสุขภาพการวิจัยครั้งนี้เป็นการผสมผสานการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยกันเพื่อศึกษามุมมองการป่วยของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน จังหวัดเชียงราย เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่เลือกแบบเจาะจง จำนวน 100 ราย และสัมภาษณ์เจาะลึก จำนวน 20 ราย วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามโดยการหาความถี่ และร้อยละพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและการปฏิบัติในระดับมาก (X =17.92) ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เจาะลึก นำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา แล้วจัดหมวดหมู่ได้5 หมวดหลัก และหมวดย่อยดังนี้ 1) การรับรู้เชิงสาเหตุ: เกิดจากการกินหวานและผงชูรสเกิดจากการกินเกิน เกิดจากกรรมพนั ธุ์ 2) การรับรู้เชิงโรค: ไม่หายแต่ไม่ร้ายแรง เบาหวานแห้งเบาหวานเปียก เป็นโรคที่บั่นทอนกำลัง โรคที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง 3) ผลต่อการดำเนินชีวิต: ไม่มีผลกระทบ ยุ่งยากและเครียด ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำ 4) น่ากลัว:กลัวถูกตัดขา กลัวภาวะน้ำตาลต่ำและน้ำตาลสูง กลัวโรคไตแทรก 5) ความรู้สึกทางเพศลดลง
ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ความเข้าใจเกี่ยวกับการป่วยเป็นโรคเบาหวานจากข้อมูลเชิงคุณภาพไม่สอดคล้องกับความรู้ที่ได้จากแบบสอบถาม นอกจากนี้มุมมองการป่วยยังแตกต่างจากมุมมองของบุคลากรสุขภาพ ดังนั้น บุคลากรสุขภาพควรให้ความรู้และส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองให้แก่ผู้สูงอายุมากยิ่งขึ้น รวมทั้งระมัดระวังในการจัดการด้านความเชื่อของบุคคลที่มีผลต่อการปฏิบัติตัว
คำสำคัญ: โรคเบาหวาน มุมมองการป่วย ผู้สูงอายุ