การป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะผู้ป่วย ที่เข้ารับการรักษาในไอซียูอายุรกรรม

Authors

  • สุพัตรา อุปนิสากร
  • จารุวรรณ บุญรัตน์
  • อจิมา ไทยคง

Abstract

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัญหาของการพยาบาล (2) พัฒนารูปแบบการพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะ (CAUTI) และ (3) เปรียบเทียบอุบัติการณ์การติดเชื้อก่อนและหลังใช้รูปแบบการพยาบาลที่พัฒนาขึ้น แบ่งการศึกษาเป็น 4 ระยะ (1) การวางแผน(2) การปฏิบัติ (3) การสังเกต และ (4) การสะท้อนการปฏิบัติและการปรับปรุงแผน เก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสืบค้นข้อมูลจากหลักฐานเชิงประจักษ์และรายงานการติดเชื้อ CAUTI ของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยไอซียูอายุรกรรม จำนวน 40 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า สภาพปัญหาของการพยาบาลโดยส่วนใหญ่เกิดจากทัศนคติ และความรู้ของผู้ปฏิบัติงานที่มีต่อการป้องกันการติดเชื้อCAUTI องค์ประกอบหลักของรูปแบบการพยาบาลประกอบด้วย (1) การใส่สายสวนปัสสาวะ(2) การประเมินการติดเชื้อ CAUTI เป็นระยะ (3) การดูแลสายสวนปัสสาวะ (4) การพิจารณาถอดสายสวนปัสสาวะ (5) การใช้ระบบเตือน และ (6) การมีแกนนำ ผลการใช้รูปแบบการพยาบาล พบว่า จำนวนวันคาสายสวนปัสสาวะจาก 1,114 เหลือ 736 วันต่อปี จำนวนวันคาสายสวนปัสสาวะเฉลี่ยลดลงจาก 3.42 เหลือ 2.41 วันต่อราย และอัตราการติดเชื้อลดลงจาก 4.49 เหลือ 0 ครั้งต่อ 1,000 วันของการคาสายสวนปัสสาวะ

สรุป รูปแบบการพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในไอซียูอายุรกรรม สามารถลดอัตราการติดเชื้อได้

คำสำคัญ: การป้องกัน, การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะ, ไอซียูอายุรกรรม

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2012-09-14

How to Cite

1.
อุปนิสากร ส, บุญรัตน์ จ, ไทยคง อ. การป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะผู้ป่วย ที่เข้ารับการรักษาในไอซียูอายุรกรรม. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2012 Sep. 14 [cited 2024 Nov. 24];27(1):49. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2760