ปัจจัยทำนายการทำหน้าที่ของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

Authors

  • ทัศนีย์วรรณ กันทากาศ
  • สายพิณ เกษมกิจวัฒนา

Keywords:

การทำหน้าที่ ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, functional ability, terminal renal failure patients undergoing haemodialysis

Abstract

บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการรับรู้สมรรถนะแห่งตน อายุรายได้ และการรับรู้แรงสนับสนุนทางสังคมที่ทำนายการทำหน้าที่ของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

                             การออกแบบวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนาเชิงทำนาย

       วิธีดำเนินการวิจัย: การวิจัยนี้ใช้ทฤษฎีอาการไม่พึงประสงค์เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม จำนวน 120 ราย จากทุกโรงพยาบาลของจังหวัดเชียงรายที่มีแผนกฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและยินดีเข้าร่วมเป็นแหล่งข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้ จำนวน 5 แห่ง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ได้แก่ แบบสอบถามการทำหน้าที่ แบบสอบถามการรับรู้แรงสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกเชิงพหุ

       ผลการวิจัย: ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม มีความสามารถในการทำหน้าที่ในระดับน้อย มาก และปานกลาง ร้อยละ 53.33, 33.34 และ 13.33 ตามลำดับ ปัจจัยทำนายการทำหน้าที่ของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ได้แก่ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน มีขนาดอิทธิพล 2.87 เท่า (Odds ratio = 2.87) การรับรู้สมรรถนะแห่งตนสามารถทำนายการทำหน้าที่ ร้อยละ 12.20 (R2 = .122, p < 0.05) ปัจจัยด้านอายุและรายได้ ไม่สามารถทำนายการทำหน้าที่ของผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมได้

       ข้อเสนอแนะ: พยาบาลควรพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนสำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำหน้าที่ของผู้ป่วยซึ่งมีผลให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น   

 

Abstract:

                Objective:

To examine the factors of self-performance perception, income and social support perception, which can predict the functional ability of terminal chronic renal failure patients undergoing haemodialysis.

Design:

Predictive research.

Implementation:

This study was conducted using the conceptual framework developed based on the theory of unpleasant symptoms.  The subjects were 120 purposively sampled terminal chronic renal failure patients receiving haemodialysis treatment in 5 hospitals in Chiang Rai province.  Data were collected using 3 questionnaires: (i) the functional ability questionnaire; (ii) the social support perception questionnaire; and (iii) the self-performance perception questionnaire.  The data were analysed using Descriptive Statistics and Multiple Regressive Regression.

Results:

According to the study, 53.33%, 33.34% and 13.33% of the subjects displayed low, high and moderate degrees of functional ability, respectively.  Self-performance perception was identified as the strongest predictive factor in the subjects’ functional ability, with the odd ratio of 2.87 or 12.20% (R2 = .122, p < 0.05).

Recommendations:

It is suggested that nurses develop a self-performance enhancement programme that can be used to better the life quality of terminal renal failure patients treated with haemodialysis.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2014-11-17

How to Cite

1.
กันทากาศ ท, เกษมกิจวัฒนา ส. ปัจจัยทำนายการทำหน้าที่ของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2014 Nov. 17 [cited 2024 Nov. 24];29(4):92-104. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/27646