ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการป้องกัน โรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่นเร่ร่อนชาย

Authors

  • รวิวรรณ ห้วยทราย นักศึกษาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ปรีย์กมล รัชนกุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • พวงผกา คงวัฒนานนท์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Keywords:

โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ, พฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์, วัยรุ่นเร่ร่อนชาย, empowerment programme, sexually transmitted disease preventing behaviour, adolescent male vagrants

Abstract

บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจในการป้องกันโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นเร่ร่อนชาย
การออกแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง ชนิดกลุ่มเดียว วัดก่อนและหลังการทดลอง
การดำเนินการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่าง คือ วัยรุ่นเร่ร่อนชาย อายุ 13-18 ปี ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 28 คนโดยได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจในการป้องกันโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ตามแนวคิดกระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจของกิบสัน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ครอนบาค เท่ากับ 0.73 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการทดสอบสถิติทีชนิดกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน
ผลการวิจัย: ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรม 4 สัปดาห์ ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นเร่ร่อนชายสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจนี้ มีประสิทธิผลที่ทำให้วัยรุ่นเร่ร่อนชายมีพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ที่ดีขึ้น
ข้อเสนอแนะ: ควรนำโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจในการป้องกันโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์นี้ไปศึกษาต่อ โดยทำการทดลองแบบ 2 กลุ่มคือมีกลุ่มควบคุม และศึกษาในกลุ่มตัวอย่างอื่นที่มีบริบทคล้ายคลึงกัน เช่น กลุ่มวัยรุ่นเร่ร่อนหญิง เป็นต้น

Abstract: Objective: To investigate the impact that an empowerment programme had on adolescent male vagrants’ prevention of sexually transmitted diseases.
Design: Two-group quasi-experimental research, with a pre-test and a post-test.
Implementation: The subjects, purposively sampled, were 28 adolescent male vagrants in Bangkok Metropolitan area, aged between 13 and 18 years. The subjects were requested to participate in the empowerment programme designed according to Gibson’s empowerment model for the purpose of preventing sexually transmitted diseases. Data were collected through (i) a personal information questionnaire; and (ii) a sexually transmitted disease preventing behaviour questionnaire. The data were analysed using descriptive statistics and dependent T-tests.
Results: After 4 weeks of programme participation, the subjects’ average score on sexually transmitted disease preventing behaviour increased significantly from their pre-test score (p < .001). This finding confirmed the effectiveness of the empowerment programme in enabling adolescent male vagrants to more efficiently prevent themselves from contracting sexually transmitted diseases.
Recommendations: It is recommended that this empowerment programme against sexually transmitted diseases be applied to two-group experiments (experimental and control groups) and to other populations in similar contexts, such as adolescent female vagrants.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

1.
ห้วยทราย ร, รัชนกุล ป, คงวัฒนานนท์ พ. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการป้องกัน โรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่นเร่ร่อนชาย. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2015 Jun. 8 [cited 2024 Dec. 23];30(1):29-40. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/34678