ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐาน ความเชื่อ การปฏิบัติทางศาสนา ความหมายของชีวิตกับภาวะธรรมทัศน์ในวัยสูงอายุของผู้ป่วย โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย

Authors

  • นฎา งามเหมาะ พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา
  • วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • นารีรัตน์ จิตรมนตรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

ความเชื่อทางศาสนา, การปฏิบัติทางศาสนา, ความหมายของชีวิต, ภาวะธรรมทัศน์ในวัยสูงอายุ, ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย, religious belief, religious practice, perception of life, gerotranscendence, end-stage chronic renal failure

Abstract

บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐาน ความเชื่อ การปฏิบัติทางศาสนา ความหมายของชีวิต กับภาวะธรรมทัศน์ในวัยสูงอายุ ของผู้ป่วยสูงอายุโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย
การออกแบบวิจัย: การวิจัยเชิงบรรยาย
การดำเนินการวิจัย: โดยใช้กรอบแนวคิดภาวะธรรมทัศน์ในวัยสูงอายุของ Tornstam กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยสูงอายุโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย อายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 85 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน และสถิติสหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล
ผลการวิจัย: พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความเชื่อทางศาสนา การปฏิบัติทางศาสนา ความหมายของชีวิต และภาวะธรรมทัศน์ในวัยสูงอายุค่อนไปทางด้านสูง และ พบว่า เพศ อายุ ความเชื่อทางศาสนา การปฏิบัติทางศาสนา ความหมายของชีวิต มีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะธรรมทัศน์ในวัยสูงอายุ ของผู้ป่วยสูงอายุโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .39, p < .01; r = .48, p < .01; r = .39, p < .01; r = .25, p < .05 และ r = .47, p < .01) ตามลำดับ
ข้อเสนอแนะ: ผลการศึกษาครั้งนี้เป็นแนวทางสำหรับบุคลากรทางสุขภาพในการส่งเสริมให้ผู้ป่วยสูงอายุโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายเข้าสู่พัฒนาการในวัยสูงอายุอย่างมีสติ และรู้เท่าทันสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง และเป็นแนวทางในการทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะธรรมทัศน์ในวัยสูงอายุต่อไป

Abstract: Objective: To examine, in terminal chronic renal failure patients, patterns in which basic factors, religious belief, religious practice, perception of life, and gerotranscendence are related.
Design: Descriptive research.
Implementation: The research was conducted based on Tornstam’s concept of Gerotranscendence. The subjects were 85 terminal chronic renal failure patients aged 60 or older. A questionnaire was used as the data-collecting instrument. The data were analysed using descriptive statistics, Pearson’s Correlation Coefficient and Point Biserial Correlation Coefficient.
Results: From the study, the subjects showed a considerably high degree of religious belief, religious practice and gerotranscendence. In addition, sex, age, belief, religious practice and perception of life were found to have a positive relationship to the subjects’ gerotranscendence, at statistically significant levels of r = .39, p < .01; r = .48, p < .01; r = .39, p < .01; r = .25, p < .05 and r = .47, p < .01, respectively.
Recommendations: This study could serve as a guideline for healthcare personnel to encourage terminal chronic renal failure patients to wisely and realistically cope with their old-age physical conditions. This study may also lead to further research on gerotranscendence.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

1.
งามเหมาะ น, วิโรจน์รัตน์ ว, จิตรมนตรี น. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐาน ความเชื่อ การปฏิบัติทางศาสนา ความหมายของชีวิตกับภาวะธรรมทัศน์ในวัยสูงอายุของผู้ป่วย โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2015 Jun. 8 [cited 2024 Jul. 18];30(1):58-71. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/34680